พิกุล โสกชาตรี

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รูปแบบของระบบประกันเงินฝาก

รูปแบบของระบบประกันเงินฝาก
        Ketcha (1999) ได้กล่าวถึง รูปแบบของระบบประกันเงินฝากในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่
             1. โครงสร้างองค์การ (organizational structure)
             2. ขอบเขตของการประกันเงินฝาก (scope of deposit insurance)
             3. การให้ความคุ้มครอง (deposit insurance coverage)
             4. ปัญหาใหญ่เกินไปที่จะล้ม (too big to fail)
             5. เงินทุนของระบบประกันเงินฝาก (funding the deposit insurance system)
             6. ค่าเบี้ยประกัน (deposit insurance premiums)
             7. พื้นฐานการประเมิน (assessment base)
        Frolov (2004) ได้พื้นฐานของการประกันเงินฝากไว้ 4 รูเสนอรูปแบบปแบบ คือ             1. Explicit blanket guarantees คือ การรับประกันเงินฝากเต็มจำนวนโดยกำหนดให้ผู้ฝากเงินรู้อย่างชัดเจน
             2. Explicit or implicit limited guarantees คือ การรับประกันเงินฝากแบบจำกัดจำนวนโดยชัดเจนหรือไม่ชัดเจน
             3. Explicit or implicit partial guarantees คือ การรับประกันเงินฝากเพียงบางส่วนโดยชัดเจนหรือไม่ชัดเจน
             4. Implicit selective (systemic) guarantees คือ การเลือกรับประกันโดยไม่กำหนดจำนวนชัดเจน
        Demirg??-Kunt, Kane, and Laeven (2006) ได้เสนอหลักการของรูปแบบที่ดีในการประกันเงินฝาก 6 หลักการ ได้แก่
             1. ต้องเปิดเผยการคุ้มครองที่จำกัดจำนวน (coverage limits)
             2. การเป็นสมาชิกภาพ (membership)
             3. การบริหารจัดการ (management)
             4. เงินทุนในการดำเนินงาน (fund)
             5. มูลค่าของการประกันเงินฝาก (price deposit insurance services)
             6. ผู้รับประกัน (deposit insurers
        Financial Stability Forum (2001) ได้เสนอ ลักษณะสำคัญของรูปแบบระบบประกันเงินฝากในประเด็นที่สำคัญ คือ
             1. การเป็นสมาชิกภาพ (membership)
             2. การให้ความคุ้มครอง (coverage)
             3. เงินทุน (funding)
             4. การประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนรับรู้ (public awareness)

บรรณานุกรม
นายธีรทร วัฒนกูล. (2549). การกำหนดนโยบายในการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Demirg??-Kunt, A., Kane, E. J., & Leaven, L. (2006). Deposit insurance design and implementation: Policy lessons from research and practice. Retrieved July 13, 2006, from http://www.siteresources/. siteresources worldbank.org/DEC/Resources/Deposit_Insurance_Design_and_ Implementation C.pdf
Ketcha, N. J., Jr. (1999). Deposit insurance system design and considerations. Retrieved July 13, 2006, From http://www.bis.org/publ/plcy 07o.pdf
Financial Stability Forum. (2001). Guidance for developing effective deposit insurance systems. Retrieved July 13, 2006, from http://www/. fdic. Gov/deposit/deposits/International/guidance/guidance/finalreport. txt
Frolov, M. (2004). Deposit insurance and its design: A literature review. Retrieved July 13, 2006, from http://www.coe.econbus.keio.ac.jp/ data/DP2004-004. pdf
ที่มา
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=6417.0

หลักการ แนวคิด และทฤษฎีในการประกันเงินฝาก

หลักการ แนวคิด และทฤษฎีในการประกันเงินฝาก
          หลักการในการประกันเงินฝาก
          Beck (2001, pp. 3-5) ได้เสนอให้เห็นถึง หลักการในการประกันเงินฝาก (principles of deposit insurance) ไว้ใน “Deposit insurance as private club: Is Germany a model?” ว่า นโยบายการประกันเงินฝากเป็นส่วนหนึ่งของตาข่ายป้องกันภัยทางการเงินซึ่งมีวัตถุประสงค์ขัดแย้งกัน 2 ประการ ประการแรก การประกันเงินฝากต้องการคุ้มครองผู้ฝากรายย่อยและสร้างความมั่นคงให้สถาบันการเงิน ประการที่สอง ตาข่ายป้องกันภัยทางการเงิน ต้องการจูงใจให้มีธนาคารน้อยที่สุดที่จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ในขณะที่การจัดตั้งโครงการประกันเงินฝากสามารถที่จะเป็นนโยบายที่ดีที่สุดที่ส่งเสริมความมั่นคงของธนาคารโดยการป้องกันไม่ให้ธนาคารล้ม แต่การประกันเงินฝากยังเป็นที่มาของการกระทำผิดจรรยาบรรณ (moral hazard) โดยธนาคารต่าง ๆ สามารถโอนความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจให้น้อยลง ไปให้แก่เจ้าของโครงการประกันเงินฝาก และ ผู้เสียภาษีอยู่บ่อยครั้ง
          ในการที่จะเลือกระหว่างเป้าหมายของความมั่นคง และการกระทำผิดจรรยาบรรณน้อยที่สุด จะเข้าใจได้โดยการวิเคราะห์ผลประโยชน์ของ 4 กลุ่มตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับการประกันเงินฝากที่แตกต่างกัน คือ ผู้ฝากเงิน ธนาคาร เจ้าของโครงการ และผู้จัดการโครงการ กลุ่มแรกผู้ฝากเงิน โดยผู้ฝากเงินทุกคนมุ่งหวังที่จะให้เงินฝากของเขาได้รับการคุ้มครองป้องกันอย่างเต็มที่ ดังนั้นเขาจึงลดการตรวจสอบฐานะของธนาคารลง ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของธนาคารและผู้จัดการธนาคาร ที่จะจูงใจให้ผู้ฝากเงินเห็นว่าโครงการประกันเงินฝากทำให้การดำเนินธุรกิจธนาคารมีความเสี่ยงน้อยลง แต่อาจจะมีความขัดแย้งบ้างระหว่างธนาคารที่มีฐานะแข็งแรงและธนาคารที่มีฐานะอ่อนแอกลุ่มที่สอง ธนาคารถ้าธนาคารที่มีฐานะแข็งแรงต้องช่วยเหลือธนาคารที่มีฐานะอ่อนแอ โดยจ่ายค่าเบี้ยประกันในอัตราคงที่ (flat premium rates) ธนาคารที่มีฐานะแข็งแรงก็จะออกจากโครงการไปหากเป็นโครงการประกันเงินฝากที่สมาชิกเข้าร่วมโดยความสมัครใจ ซึ่งผลจากการที่ธนาคารทุกธนาคารเข้าเป็นสมาชิกในโครงการประกันเงินฝากและจ่ายค่าเบี้ยประกันในอัตราเดียวกัน (adverse selection) เป็นการเพิ่มปัญหา Moral Hazard ให้เกิดขึ้นต่อไปอีก กลุ่มที่สาม เจ้าของโครงการ เจ้าของโครงการประกันเงินฝาก ต้องการให้โครงการมีภาระค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด และกลุ่มที่สี่ ผู้จัดการโครงการในขณะที่ผู้จัดการโครงการประกันเงินฝาก ต้องเป็นมืออาชีพหรือ อาจเป็นตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์อื่น เช่น นักการเมือง หรือนายธนาคาร ดังนั้น ปัญหาของกลุ่มตัวแทน(agency problems) ดังกล่าวอาจมาจากการมีตาข่ายป้องกันภัยทางการเงินที่ไม่เพียงพอ
          มีหลายประการที่จะจูงใจให้การประกันเงินฝากแบบชัดเจน (explicit deposit insurance) มีความเหมาะสมและลดปัญหา Moral Hazard ปัญหา Adverse Selection และ Agency Problems ประการหนึ่งโดยการนำส่วนที่เสียหายไปสู่ภาคเอกชน โดยการบังคับให้เขามีการตรวจสอบฐานะของธนาคารต่าง ๆ และเพิ่มการมีวินัยทางการตลาด ส่วนการจำกัดการคุ้มครองทำให้การประกันไม่สมบูรณ์ มีการบังคับเฉพาะผู้ฝากรายใหญ่ให้ทำการตรวจสอบฐานะธนาคารที่ตนฝากเงิน การบังคับให้มีการประกันต่อ (coinsurance) โดยการให้ผู้ฝากเงินทุกคนมีส่วนแบ่งในความเสียหาย เมื่อเขาได้รับเงินชดเชยจากการประกันน้อยกว่า 100% ของเงินฝาก เงินฝากที่รับประกันจะไม่รวมเงินฝากระหว่างธนาคาร (inter-bank deposits) เงินฝากที่เป็นเงินตราต่างประเทศ (foreign currency deposits) และบัญชีเงินฝากของผู้มีความสัมพันธ์ภายใน (insider accounts) เช่น เงินฝากของผู้บริหารสถาบันประกันเงินฝากและญาติของเจ้าของสถาบันประกันเงินฝาก เป็นต้น อีกประการหนึ่ง โดยการออกแบบการจัดการและเงินทุนของโครงการประกันเงินฝากให้มีความเหมาะสมในการจูงใจการประกัน ปัญหา Adverse Selection ลดลงได้โดยการบังคับให้สมาชิกทุกรายเข้าร่วมโครงการประกันเงินฝาก และปรับปรุงอัตราค่าเบี้ยประกันตามความเสี่ยงของสมาชิกลดปัญหา agency ระหว่างผู้เป็นเจ้าของและผู้จัดการของโครงการประกันเงินฝาก โดยนำเงินทุนและการจัดการภาคเอกชนมาใช้ อย่างไรก็ตามการแปรรูปให้เอกชนทำอย่างสมบูรณ์อาจไม่เกิดขึ้น เนื่องจากผู้เสียภาษีได้คาดหวังอยู่เสมอว่า รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรง
          แนวคิดในการประกันเงินฝาก

         Garcia (อ้างถึงใน กรัณฑรัตน์  นาขวา, 2547, หน้า 34) ได้เสนอว่า การประกันเงินฝาก คือ การประกันต้นเงินและดอกเบี้ยทั้งจำนวนหรือบางส่วนในบัญชีเงินฝากว่า   ผู้ฝากเงินจะได้รับคืนหากมีการปิดสถาบันการเงิน การประกันเงินฝากแตกต่างจากการประกันประเภทอื่น 4 ประการ ประการแรก ความล้มเหลวของสถาบันการเงินไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวเหมือนการเกิดอุบัติภัยประเภทอื่น แต่ความล้มเหลวดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อไปยังสถาบันการเงินอื่น ๆ ความล้มเหลวนี้สะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ความบกพร่องของการกำกับดูแลและกฎหมายที่ไม่เข้มงวด ประการที่สอง การประกันทั่วไปมีจุดมุ่งหมายที่จะคุ้มครองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่ได้คาดหมายหรือเหตุการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ขณะที่ความล้มเหลวของสถาบันการเงินมักเกิดจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ประการที่สาม การประกันเงินฝากนอกจากมีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองผู้ฝากเงินแล้ว ยังให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินด้วย ประการที่สี่ เมื่อสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งล้มละลาย รัฐบาลจะอยู่เบื้องหลังในการให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ขณะที่การประกันภัยประเภทอื่นรัฐบาลจะไม่เกี่ยวข้อง
          สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, สำนักนโยบายระบบการเงิน การออม และการลงทุน (2546, หน้า 8-9) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการประกันเงินฝากว่า การประกันโดยทฤษฎีจะทำหน้าที่ในการลด หรือ บรรเทาภาระ (liabilities) ที่เกิดจากการสูญเสีย แต่มิได้หมายความว่าจะลดโอกาสที่จะเกิดความสูญเสีย (probability of loss) ผู้เอาประกันในทรัพย์สิน เช่น บ้าน หรือรถยนต์ ไม่สามารถจะคาดหมายว่าการทำประกันจะทำให้โอกาสที่บ้านจะถูกเพลิงไหม้ หรือรถยนต์จะเกิดอุบัติเหตุชนกันลดน้อยลงไปจากเกณฑ์ปกติที่เป็นอยู่ หากแต่ผู้เอาประกันจะลดหรือบรรเทาภาระที่เกิดจากความผันผวนใน รายได้หรือความมั่งคั่งที่ตนมีอยู่ โดยการโอนย้ายภาระที่จะเกิดขึ้นจากโอกาสของความสูญเสียไปให้ผู้รับประกัน เป็นผู้รับผิดชอบแทน
          ผู้รับประกันจึงทำหน้าที่ในการรวบรวมเอาความเสี่ยง (risks) ชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่เอาไว้ด้วยกัน เพื่อที่จะทำการกระจาย (diversity) ความเสี่ยงให้อยู่ในวิสัยที่จะรับผิดชอบได้ บริษัทประกันวินาศภัยจึงทำการประกันความเสี่ยงภัยประเภทต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อที่จะกระจายความเสี่ยงออกไป เนื่องจากสาเหตุของการเกิดความเสี่ยงที่มีแตกต่างกัน
          ทฤษฎีในการประกันเงินฝาก
     
          Demirg??-Kunt and Kane (2001, pp. 12-24) ได้เสนอทฤษฎีและหลักฐานเชิงประจักษ์ของการประกันเงินฝาก ไว้ใน “Deposit insurance around the globe: Where does it work?” โดยวิเคราะห์ถึงผลประโยชน์และต้นทุน (benefits and costs) และสำรวจถึงความสมดุลของผลประโยชน์และต้นทุนที่เกิดจากการประกันเงินฝาก โดยพิจารณาข้อมูลเชิงประจักษ์ 4 ประการที่มีผลต่อประเทศต่าง ๆ ที่นำระบบประกันเงินฝากมาใช้
          ประการแรก การประกันเงินฝากเป็นตาข่ายป้องกันภัยทางการเงินอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความมั่นคงแก่ธนาคาร และยังต้องมีกฎระเบียบและการกำกับตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ที่ดี การประกันเงินฝากจะทำให้ผู้ฝากเงินได้รับความเสี่ยงน้อยลง ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ นิยมใช้การประกันเงินฝากแบบชัดเจน (explicit deposit insurance) มากขึ้น
          ประการที่สอง การประกันเงินฝากทำให้เกิดวินัยทางการตลาด โดยผู้ฝากเงินสามารถจัดการกับเงินฝากส่วนที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง โดยเรียกร้องอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง หรือถอนเงินฝากนั้นเสีย การประกันเงินฝากทำให้ผู้ฝากเงินลดการติดตามดูแลการดำเนินงานของธนาคาร โดยผลักความรับผิดชอบในการควบคุมความเสี่ยงของธนาคาร ไปให้กฎระเบียบของธนาคารที่กำหนดขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า รูปแบบลักษณะของการประกันเงินฝากที่แตกต่างกันทำให้เกิดวินัยทางการตลาดที่ต่างกัน วินัยทางการตลาดจะเข้มแข็งมากในประเทศที่มีระดับการพัฒนาความเป็นสถาบันที่สูง และรูปแบบของการประกันเงินฝากที่ไม่ดีทำให้ขาดวินัยทางการตลาด
          ประการที่สาม การประกันเงินฝากมีผลกระทบต่อการพัฒนาทางการเงิน โดยในหลายประเทศที่ตัดสินใจให้มีการประกันเงินฝากมีเหตุผลแตกต่างกัน แต่เหตุผลโดยทั่วไปก็เพื่อที่จะเพิ่มสภาพคล่องให้ธนาคาร โดยการเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนทั่วไปการประกันเงินฝากทำให้ระบบธนาคารไม่มีปัญหาทางด้านการเงินและมีความมั่นคงเพิ่มขึ้น ได้พบว่า การประกันเงินฝากแบบชัดเจนส่งเสริมให้มีการพัฒนาทางการเงินอย่างหนึ่ง
          ประการที่สี่ บทบาทที่การประกันเงินฝากจะต้องทำในการจัดการกับวิกฤติของธนาคาร การปฏิบัติโดยทั่วไป ก็คือ การประกันเต็มจำนวน (blanket guarantees) ซึ่งหลายประเทศได้ตัดสินใจใช้กลยุทธ์นี้ในปีที่เกิดวิกฤติ เช่น Sweden (1992), Japan (1996), Thailand (1997), Korea (1997), Malaysia (1998) และ Indonesia (1998) ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ฝากเงินและเพียงพอที่จะหยุดไม่ให้ผู้ฝากเงินถอนเงินจากธนาคาร ในด้านของต้นทุนการประกันเต็มจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่รู้ค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนของรัฐบาลที่จะให้การสนับสนุนสภาพคล่องของธนาคารจำนวนเท่าใด
บรรณานุกรม
นายธีรทร วัฒนกูล. (2549). การกำหนดนโยบายในการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กรัณฑรัตน์  นาขวา. (2547). การประกันเงินฝากและพฤติกรรมของผู้ฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ไทย: ก่อนและหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร-มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, สำนักนโยบายระบบการเงิน การออม และการลงทุน. (2546). รายงานผลการศึกษาเรื่อง ระบบการประกันเงินฝากและความเหมาะสมในการประยุกต์ใช้สำหรับประเทศไทย (Deposit insurance system and its application for Thailand). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
Beck, T. (2001). Deposit insurance as private club: Is Germany a model? (Policy Research Working Paper No. 2559). Washington, DC: The World Bank.
Demirg??-Kunt, A., & Kane, E. J. (2001). Deposit insurance around the globe (Policy Research Working Paper No. 2679). Washington, DC: The World Bank.
ที่มา
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=6417.0

สรุปการวางผังโรงงาน

สรุปการวางผังโรงงาน
          การวางผังโรงงาน หมายถึง งานหรือแผนการในการติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัตถุต่าง ๆ ที่จำเป็นในกระบวนการผลิต ภายใต้ข้อจำกัดของโครงสร้าง และการออกแบบของอาคารที่มีอยู่ เพื่อทำให้การผลิตมีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด
ปัจจัยในการพิจารณาในการวางแผนผังโรงงาน มีข้อพิจารณา ดังนี้
          1. ความต้องการของผลิตภัณฑ์ การวางแผนผังควรมีความยืดหยุ่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงการใช้เครื่องจักร 
          2. การเสี่ยงต่อความล้าสมัยของเครื่องจักร จากความต้องการผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ
          3. คุณภาพของผลผลิต การวางแผนผังไม่ถูกต้อง อาจมีผลให้คุณภาพของสินค้าลดลง
          4. ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ควรคำนึงถึงการผลิตที่ต่อเนื่องกันเพื่อลดต้นทุนในการบำรุงรักษา
ขั้นตอนการวางผังโรงงานมีด้วยกัน 3 ขั้นตอน
          1. การวางผังโรงงานขั้นต้น การวางผังโรงงานแบบนี้เป็นการกำหนดขอบเขตเอาไว้กว้าง ๆ ว่าจะกำหนดให้พื้นที่นี้ทำอะไร พื้นที่ตรงนี้ต้องอยู่ใกล้กับหน่วยงานใด เป็นต้น
          2. การวางผังโรงงานอย่างละเอียด ก็เป็นการกำหนดราละเอียดในแต่ละแผนกว่าในแผนกนี้จะติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือตรงไหน มุมไหน ทางเดินภายในแผนก จะกำหนดอย่างไร สรุปแล้วการวางผังโรงงานอย่างละเอียด ก็คือการมองไปในรายละเอียดของแต่ละแผนกนั่นเอง
          3. การติดตั้งเครื่องจักร ขั้นนี้เป็นขั้นนำการวางผังโงงานอย่างละเอียดมาสู่การปฏิบัติ ก็คือ การติดตั้งเครื่องจักรตามที่วางผังไว้แล้วให้สามารถปฏิบัติงานได้
          ในการวางผังโรงงานนั้น ผู้วางผังควรมีการวางให้รัดกุมมากพอสมควร จึงจะทำให้การวางผังโรงงานเกิดผลดี และได้ใช้ประโยชน์จากโรงงานอย่างคุ้มค่า เช่น
                - วางผังโรงงานขั้นต้นก่อน แล้วจึงวางผังอย่างละเอียด
                - ควรออกแบบผังโรงงานไว้เลือกหลายแบบ
                - ผู้วางผังโรงงานต้องรู้ว่า ผู้บริหารจะเลือกวิธีการขนย้ายวัสดุภายนอก ภายในโรงงานแบบใด
                - ควรมีการติดต่อขอความคิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ระบบการวางผังโรงงาน
          ระบบการวางผังโรงงานที่ดี จะต้องสอดคล้องกับระบบการผลิต ซึ่งการวางผังโรงงานมีด้วยกัน 4 ระบบ คือ
          1. การวางผังโรงงานแบบตามกระบวนการผลิต
          2. การวางผังโรงงานแบบตามชนิดของผลิตภัณฑ์
          3. การวางผังโรงงานแบบผสม
          4. การวางผังโรงงานแบบชิ้นงานอยู่กับที่
          การวางผังโรงงานแต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่าง ทั้งนี้ ผู้บริหารจะเลือกระบบการวางผังโรงงานแบบใด ก็ต้องขึ้นอยู่กับระบบการผลิตในโรงงานเป็นหลักในการพิจารณา
- ฉลวย ธีระเผ่าพงษ์ และอุทัยวรรณ สุวคันธกุล, 2532. การวางแผนโรงงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพื้นฐานอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันราชภัฏพระนคร.
- ชัยนันท์ ศรีสุภินนท์. การออกแบบผังโรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2 มหาสารคาม : ช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม.
- ณรงค์ นันทวรรณะ และคณะ. 2536. การบริหารงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : หจก.สำนักพิมพ์  ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
- ณัฏฐพันธ์  เขจรนันทน์, 2542. การจัดการผลิตและการดำเนินงาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- เดชา ทิพยมาศ. 2536. การบำรุงรักษาโรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2 มหาสารคาม : ช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม.
- ธีรวุฒิ บุญยโสภณ และวีรพงษ์ เฉลิมจิระวัฒน์. 2522. พื้นฐานการบริหารงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า  พระนครเหนือ.
- พิชิต สุขเจริญพงษ์. 2533. การจัดการวิศวกรรมการผลิต. กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด. 
- ยุทธ กัยวรรณ์. 2543. การบริหารการผลิต. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริม กรุงเทพฯ. 
- สุรศักดิ์ นานานุกุล. 2517. การบริหารงานผลิต. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
- อรนุช จรูญโรจน์ และศิวาพร บัณฑุวานนท์. 2530. การบริหารการผลิต. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการบริหารทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
- Harold  T.Amrine  and  others.  1957.  Manufacturing  organization  and  Management.  Six  edition  New  Jersey  : Prentice – Hall  Englewood  Cisffs.

http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson%207/lesson%207%20-%209.html

วิธีสร้างแผนภูมิการไหลของกระบวนการผลิต

วิธีสร้างแผนภูมิการไหลของกระบวนการผลิต
          ก่อนลงมือสร้างแผนภูมิทุกชนิด จะต้องเริ่มต้นโดยการเขียนรายละเอียดประจำแผนภูมิก่อนเสมอ ซึ่งจะประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
                    - ซึ่งแผนภูมิ : แผนภูมิการไหลของกระบวนการผลิต
                    - คำอธิบายของแต่ละกิจกรรม (process description)
                    - สถานที่ (plant building of department)
                    - ชื่อผู้สร้างแผนภูมิ 
                    - หมายเลขแผนภูมิ
                    - วันที่บันทึก
          ในการสร้างแผนภูมิการไหลของกระบวนการผลิต ผู้สร้างจะต้องบันทึกกิจกรรมที่จะดำเนินการลงไปในแบบฟอร์มอย่างละเอียด และตามกิจกรรมก่อน-หลัง ตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้นกิจกรรม เพื่อให้เข้าใจโปรดศึกษากิจกรรมตรวจรับคุณภาพ และการจัดเก็บมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ขนาด 1 แรงม้า บรรจุในหีบรังไม้ (ธีรวุฒิ บุณยโสภณ และวีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์, 2537 หน้า 48-51)
ประโยชน์ของการวางผังโรงงาน (benefit of plant layout)
          ประโยชน์ของการวางผังโรงงาน ก็คือ การเพิ่มผลผลิตของโรงงานและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต (ธีรวุฒิ บุณยโสภณ และวีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์, 2532 หน้า 31) ได้เสนอแนะว่ายอกจากจะเป็นการเพิ่มผลผลิตแล้ว ยังเกี่ยวกับการจัดเตรียมหรือจัดวางเครื่องจักรกล วัตถุดิบและอุปกรณ์ช่วยในการผลิตต่าง ๆ ในโรงงาน เพื่อให้ผลตอบแทนสูงสุด โดยจะต้องสอดคล้องกับความต้องการและความพอใจของคนงานด้วย นอกจากประโยชน์ที่ได้จากการวางผังโรงงานดังกล่าวแล้ว
การวางผังโรงงานเอื้อประโยชน์ต่อระบบการผลิต ดังนี้
          1. ทำให้เกิดความสมดุลย์ในกระบวนการผลิต เพราะจะช่วยแบ่งปริมาณงานให้แต่ละหน่วยผลิตได้เท่าเทียมกัน วัสดุจึงไหลไปในกระบวนการผลิตอย่างสม่ำเสมอไม่เกิดการหยุดรอในกระบวนการผลิต
          2. ช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานโดยจัดให้แสงสว่างเพียงพอ ทางเดินกว้าง พอสมควร มีระบบความปลอดภัยในการทำงาน
          3. ใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ การวางผังโรงงานจะช่วยทำให้คนงานทำงานในหน่วยผลิตอย่างประสิทธิภาพ ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินไปมาในการทำงานในหน่วยผลิต
          4. ช่วยให้ใช้พื้นที่ในโรงงานให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ พื้นที่ ในโรงงานมีจำกัดจะต้องจัดวางระบบให้ใช้พื้นที่ในระบบการผลิตในโรงงานให้มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าที่สุด
          5. ช่วยให้มองเห็นการปรับเปลี่ยนพื้นที่ในอนาคต การวางผังโรงงานจะต้องกะประมาณ และคาดการณ์ล่วงหน้าในการเตรียมพื้นสำหรับการปรับเปลี่ยน หรือการติดเครื่องจักร เครื่องกลหรืออุปกรณ์ที่ช่วยในการผลิต
          6. ลดเวลาในการขนย้ายให้สั้นสุดในการผลิตสินค้าต่าง ๆ การไหลของวัตถุดิบตั้งแต่เริ่มแรกกรผลิตเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งสำเร็จออกมาเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ การขนย้ายวัตถุดิบระหว่างผลิตจะลงทุนมาก ดังนั้นจะต้องจัดวางผังโรงงานให้การขนย้ายวัตถุดิบแต่ละหน่วยผลิต หรือภายในหน่วยผลิตให้สั้นสุด
          7. ทำให้คนงานมีสุขจิตที่ดี การวางผังโรงงานที่ถูกแบบ จะช่วยทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น คนงานมีความรู้สึกพอใจในการทำงานของตน เช่น ห้องน้ำ ห้องสมุด ห้องพักผ่อน ความสะอาด ความเป็นระเบียบตลอดทั้งสิ่งแวดล้อมภายนอกโรงงาน จะต้องจัดให้เหมาะสม
          8. ช่วยลดสิ่งรบกวนต่าง ๆ จากกระบวนการผลิต กระบวนการผลิตในหน่วยผลิตบางครั้งจะทำให้เกิดฝุ่น ควัน เศษโลหะ เสียง หรืออื่น ๆ หากวางผังเอาไว้ดีแล้วจะสามารถขจัดปัญหาดังกล่าวได้
ระบบของการวางผังโรงงาน
          การวางผังโรงงานที่จะดีต้องสอดคล้องกับระบบการผลิต ซึ่งการวางผังโรงงานนั้นมีด้วยกัน 4 ระบบ คือ
          1. การวางผังโรงงานแบบตามกระบวนการผลิต (process layout) สำหรับงานที่ผลิตสินค้าแต่ละแบบต้องใช้ชิ้นส่วนต่าง ๆ มากมาย การวางผังแบบตามกระบวนการผลิต จะเป็นการรวมเอาเครื่องจักรที่มีลักษณะการใช้งานเหมือนกันเข้าไว้ในพื้นที่ส่วนเดียวกันของโรงงาน การวางผังการผลิตแบบนี้เหมาะกับการผลิตที่ทราบจำนวนแน่นอน หรืองานเป็นหน่วย ๆ ที่ทราบปริมาณการผลิตที่แน่นอน (อรนุช จรูญโรจน์, 2530 หน้า 55) และการผลิตสินค้าแต่ละชนิดมีกรรมวิธีการผลิตที่คล้ายคลึงกัน
ข้อดีของผังโรงงานแบบตามกระบวนการผลิต
          1. จำนวนเงินลงทุนในการซื้อเครื่องจักรเครื่องมือต่ำ
          2. เครื่องจักรมีชั่วโมงใช้งานสูง โดยเฉพาะในกรณีที่การผลิตสินค้าแต่ละชนิดมีจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากโรงงานสามารถจัดตารางการผลิตให้กับเครื่องจักรแต่ละเครื่องได้
          3. ถ้าเครื่องจักรใดเครื่องจักรหนึ่งไม่ทำงานก็ยังดำเนินการผลิตต่อไปได้ หรืออาจจะใช้เครื่องจักรทดแทนการทำงานกันได้
          4. ถ้ามีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่อาจจะต้องซื้อหรือปรับปรุงเครื่องจักรใหม่เพียงเครื่องหนึ่งสองเครื่องเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
          5. ในการขยายกิจการ ค่าใช้จ่ายในการขยายโรงงานจะถูกกว่าเนื่องจากอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มสายการผลิตใหม่ทั้งสาย
ข้อจำกัดของผังโรงงานแบบตามกระบวนการผลิต
          1. การขนถ่ายวัสดุจะยุ่งยากมากกว่า เพราะจัดเป็นแผนก ๆ งานและอาจจะมีปัญหาในเส้นทางการขนย้าย จากแผนกหนึ่งไปยังแผนกหนึ่งจะเสียเวลามากและลงทุนสูง
          2. การสั่งการและการประสานงานไม่ค่อยสัมพันธ์ ตลอดทั้งความคล่องของคนงาน และประสิทธิภาพของเครื่องจักรแต่ละแผนกแตกต่างกันทำให้เกิดผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จคั่งค้าง ณ จุดปฏิบัติมาก ซึ่งบางจุดปฏิบัติงานอาจจะขาด
          3. ใช้พื้นที่โรงงานมากกว่า
          4. จะต้องใช้เวลาในการอบรมฝึกหัดพนักงานใหม่ทุกครั้ง ที่มีการเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือได้เครื่องจักรเข้ามาใหม่
          2. การวางผังโรงงานตามชนิดของผลิตภัณฑ์ (product layout) เป็นการจัดผลิตให้เรียงตามลำดับขั้นตอนการผลิตของผลิตภัณฑ์ การจัดผังโรงงานแบบนี้ บางทีเรียกว่าเป็นการจัดแบบเป็นแถว (line layout) (เดชา ทิพยมาศ, 2536 หน้า 123) โรงงานแบบนี้จะเป็นการผลิตสินค้าชนิดเดียว หรือสินค้าหลายชนิดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน การดำเนินการผลิตมักจะเป็นการผลิตแบบต่อเนื่อง เช่น การผลิตอาหารกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง เบียร์ การผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทแก้ว ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ จะทำให้การจัดเครื่องจักรเครื่องมือทำได้อย่างไม่ยุ่งยาก ผู้วางผังโรงงานสามารถกำหนดขั้นตอนการผลิต เพื่อให้การผลิตดำเนินการไปได้โดยที่ไม่มีการขนย้ายสินค้าย้อนทางเดิน (ฉลวย ธีระเผ่าพงษ์ และอุทัยวรรณ สุวคันธกุล, 2532 หน้า 58)
          ในการวางผังโรงงาน แบบตามชนิดของผลิตภัณฑ์ วิธีการ คือ เราจัดเรียงเครื่องจักรให้เรียงกันไปตามขั้นตอนการผลิต โดยเริ่มจากวัตถุดิบไปถึงกระบวนการผลิตแต่ละหน่วยการผลิต จนสำเร็จเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จ 
ข้อดีของการวางผังโรงงานแบบตามชนิดผลิตภัณฑ์
          1. การควบคุมการจัดตารางผลิตทำได้ง่ายเนื่องจากเรารู้ขั้นตอนการผลิตที่แน่นอน
          2. การขนย้ายวัสดุทำได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เนื่องจากระยะระหว่างจุดปฏิบัติการต่าง ๆ นั้น และไม่มีการขนย้ายวัตถุดิบย้อนทางเดิน
          3. พื้นที่โรงงานใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่า
          4. ในการผลิตเป็นจำนวนมาก ๆ อัตราการใช้เครื่องจักรจะดีขึ้นและเครื่องจักรได้ทำงานอย่างเต็มที่
          5. ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จที่คั่งค้าง ณ จุดปฏิบัติงานต่าง ๆ จะมีน้อยลง 
          6. เวลาที่เสียไปในการติดตั้งเครื่องจักรจะลดลง
          7. ไม่จำเป็นต้องอบรม หรือให้ความรู้พนักงานบ่อย ๆ
          8. ต้นทุนการผลิตต่อชิ้นจะถูกลง
          9. การไหลของชิ้นงานผลิตจะเร็วขึ้น
          10. การควบคุมงานผลิตจัดได้เป็นระบบมากกว่า
ข้อจำกัดของการจัดผังโรงงานตามชนิดผลิตภัณฑ์          1. จำนวนเงินทุนในการซื้อเครื่องมือเครื่องจักรสูง
          2. การหยุดการผลิตของเครื่องจักรในหน่วยผลิต หน่วยใดหน่วยหนึ่ง กระบวนการผลิตจะหยุดทั้งระบบการผลิต
          3. ยอดผลิตจะสูงและสม่ำเสมอ เพราะเครื่องจักร ผลิตชิ้นงานตลอดเวลาหากยอดขายลดลง จะส่งผลต่อระบบเงินทุนหมุนเวียนเป็นอย่างมาก
          4. เป็นเรื่องลำบากมาก หากจะแยกเครื่องจักรในระบบผลิตที่เป็นปัญหาออกจากกระบวนการผลิต
          5. การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนเครื่องมือเครื่องจักร ซึ่งการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแต่ละครั้ง ก็จะปรับเปลี่ยนทั้งสายการผลิต
          อย่างไรก็ตาม การวางผังโรงงานทั้งสองแบบคือ การวางผังการผลิตตามกระบวนการผลิต (process layout) และการวางผังการผลิตแบบตามชนิดผลิตภัณฑ์ (product layout) ต่างก็มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่าง 
          3. การวางผังโรงงานแบบผสม (mixed layout) ในปัจจุบันโรงงานส่วนใหญ่จะใช้ระบบการวางผังโรงงานแบบผสม กล่าวคือ ในแผนกซ่อมบำรุง (maintenance engineer) แผนกงานหล่อ งานเชื่อมทำแบบหล่อ (mole maintenance) จะวางผังเป็นแบบตามกระบวนการผลิต (process layout) ส่วนแผนกผลิตชิ้นงานหรือหล่อชิ้นงานจะใช้วิธีการวางผังโรงงานแบบตามชนิดของผลิตภัณฑ์ (product layout) ส่วนแผนกผลิตชิ้นงานหรือหล่อชิ้นงานจะใช้วิธีการวางผังโรงงานแบบตามชนิดของผลิตภัณฑ์ (product layout)
          4. การวางผังโรงงานแบบชิ้นงานอยู่กับที่ (fixed position layout) การวางผังโรงงานอีกแบบหนึ่ง คือ การวางผังโรงงานแบบชิ้นงานอยู่กับที่ (fixed position layout) ซึ่งเป็นที่ใช้กันไม่ค่อยมากนัก ส่วนมากจะเป็นการวางผังเพื่อผลิตชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น การต่อเรือ (ship construction) เครื่องบิน (aircraft) เป็นต้น จะเป็นการลำบากมาก หากจะเคลื่อนย้ายชิ้นงานเข้าสู่กระบวนการผลิต วิธีการที่จะทำให้การผลิตมีความสะดวกมากขึ้น ก็โดยการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ ตลอดทั้งแรงงานเข้าหาชิ้นงานที่จะทำการผลิต (Norman Gaither, 1994 p. 304)

http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson%207/lesson%207%20-%208.html

การวางผังโรงงานอย่างละเอียด

การวางผังโรงงานอย่างละเอียด
          หลังจากการวางผังโรงงานขั้นต้นแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการวางผังโรงงานอย่างละเอียดในการวางผังโรงงานอย่างละเอียด ผู้วางแผนจะต้องกำหนดบริเวณสำหรับติดตั้งเครื่องจักร โต๊ะทำงาน ชั้นวางเครื่อง ที่เก็บอุปกรณ์ช่วยในการผลิต ตลอดทั้งจะต้องกำหนดบริเวณที่จะใช้เป็นทางเดินภายในโรงงานด้วย
          หลักการวางผังโรงงานอย่างละเอียด การวางผังโรงงานอย่างละเอียด มีหลักการเช่นเดียวกับการวางผังโรงงานขั้นต้น เว้นแต่ในการวางผังโรงงานอย่างละเอียด เรามุ่งถึงการวางผังในบริเวณย่อย ๆ หรือในแผนกแต่ละแผนกนั้นเท่านั้น การวางผังโรงงานขั้นต้น ผู้วางผังจะวางผังก่อนลำดับแรก เพื่อกำหนดกรอบขอบเขตภายในโรงงาน ทั้งหมดอย่างคร่าว ๆ ก่อน ต่อไปก็จะกำหนดลงไปในรายละเอียดว่าในแต่ละแผนกนั้น จะติดตั้งเครื่องจักรตรงไหน ทางเดินภายในแผนกจะผ่านตรงไหน กว้างใหญ่แค่ไหน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นการวางผังในแผนกหรือวางผังอย่างละเอียด
เทคนิคการวางผังอย่างละเอียด
เทคนิคในการวางผัง ที่นิยมใช้กัน 3 วิธีการ ดังนี้ คือ
          1. วิธีการวาดรูป และแบบแปลนโรงงาน (drawing) รูปวาดหรือเขียนแบบแปลนโรงงานเหมาะที่จะนำมาใช้กับวางผังโรงงานแบบจัดตามกระบวนการผลิต (process layout) ซึ่งในการผลิตแบบนี้มักจะต้องใช้เครื่องจักรเครื่องมือจำเป็นจำนวนมาก และบริเวณที่ผลิตจะต้องมีพื้นที่กว้างขวางเพียงพอ การวางผังโรงงานโดยใช้วิธีการวาดรูป หรือเขียนแบบแปลนโรงงานใช้ได้ดีกับการกำหนดพื้นที่
          สำหรับวิธีการวาผังโรงงานโดยใช้วิธีวาดรูป หรือเขียนแบบแปลนนั้น เริ่มแรกผู้วางผังจะต้องเตรียมผัง ซึ่งวาดตามาตราส่วน และกำหนดว่าจะวางเครื่องจักรใดในบริเวณใดจนครบทุกเครื่องของแต่ละแผนกจากนั้นก็นำไปปรึกษากับบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ แล้วนำกลับมาร่างผังโรงงานใหม่อีกครั้งหนึ่ง เท่านั้นก็จะทำให้ได้ผังโรงงานที่ดีได้การใช้รูปวาด หรือเขียนแบบแปลนโรงงาน เพื่อช่วยในการวางผังโรงงานนั้น เป็นวิธีเบื้องต้นที่นิยมมากที่สุด หากต้องการให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นอาจจะสร้างรูปหุ่นจำลอง (modeks) ตามขึ้นมาได้ ในบางครั้งการวางผังโรงงานโดยใช้รูปวาด หรือเขียนแบบแปลนเป็นเพียงวิธีเดียวเท่านั้นที่จะทำได้
          2. วิธีการสร้างแผ่นภาพจำลอง (templates) วิธีการสร้างแผ่นภาพจำลองผู้สร้างแผ่นภาพจำลอง ตัดแผ่นกระดาษแข็งและให้ดีมองเห็นชัดเจน ควรเป็นกระดาษแข็งสีแทนเครื่องจักร แต่ละเครื่องควรเป็นเครื่องละสี ตัดแล้วนำไปวางลงบนแผนกระดาษแข็งที่เป็นพื้นโรงงาน ซึ่งถูกย่อมาตราส่วนให้เล็กลงแล้ว การหาตำแหน่งและระยะห่างของเครื่องจักร ก็ให้วัดจากแผ่นภาพจำลองได้เลย เพราะย่อมาตราส่วนไว้แล้ว
          3. วิธีสร้างรูปหุ่นจำลอง (models) การวางแผนผังโรงงานอุตสาหกรรมของทุกประเทศในปัจจุบัน นิยมใช้วิธีการสร้างหุ่นจำลองในการวางแผนผังโรงงาน เพราะสะดวกในการเคลื่อนย้ายรูปหุ่นจำลองเครื่องมือ และเครื่องจักรต่าง ๆ เมื่อต้องการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงผังโรงงานใหม่รูปหุ่นจำลองนิยมทำด้วยไม้ ซึ่งทาสีต่างกัน และลดขนาดลงมาตราส่วน (scale) นำไปวางลงบนแผ่นพื้นรูปโรงงานตามที่ลดสัดส่วนตามมาตราส่วนเหมือนกัน หลังจากที่มีการวางผังปรับปรุงผังโรงงานใหม่ สิ่งที่ผู้วางต้องดำเนินการขั้นต่อไปก็คือ จัดทำแผนภูมิการไหลของกระบวนการผลิต (process flow chart) ของสายการผลิต การใช้แผนภูมิแสดงการไหลของกระบวนการผลิตจะมีการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไว้เป็นรูปลักษณ์การใช้สัญลักษณ์แทนการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร กำหนดสัญลักษณ์จะทำให้เข้าใจกระบวนการผลิตได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีการผลิตที่ต้องมีการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เป็นขั้นตอนตามลำดับของสายการผลิต
          การไหลของกระบวนการผลิต แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนและกรรมวิธีการผลิตโดยใช้สัญลักษณ์แทนกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสัญลักษณ์การไหลของกระบวนการผลิตดังกล่าว สมาคมวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (American Society of Mechanical Engineers--A.S.M.E.) เป็นผู้กำหนดขึ้นมาด้วยกัน 6 ลักษณะ ดังนี้
          1. การดำเนินงาน (operation) ใช้เมื่อมีการเปลี่ยนสภาพวัสดุในการเปลี่ยนแปลงสภาพ อาจจะเป็นการเปลี่ยนรูป เปลี่ยนคุณสมบัติทางเคมี หรือเป็นการประกอบวัสดุเข้ากับชิ้นส่วนอื่น ๆ หรือถอดวัสดุออกจากชิ้นส่วนอื่น ๆ การเตรียมวัสดุเพื่อการขนส่ง เพื่อการตรวจสอบ หรือเพื่อการเก็บรักษา ทั้งหมดนับเป็นการดำเนินงานอย่างหนึ่ง นอกจากนี้การดำเนินงานยังรวมถึงการรับส่งข้อมูลข่าวสาร การวางแผนการวิเคราะห์คำนวณค่าต่าง ๆ อีกด้วย
          2. การตรวจสอบ (inspection) เป็นการพิจารณาถึงคุณสมบัติว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ ทั้งลักษณะรูปร่างทั้งกายภาพ (physical) และทางเคมี (chemical) ตลอดทั้งจำนวนหรือปริมาณว่าเป็นไปตามกำหนดหรือไม่
          3. การขนส่ง (transportation) เป็นช่วงของการขนย้ายชิ้นงานผลิตจากหน่วยผลิตหนึ่ง ไปยังหน่วยผลิตอีกหน่วยถัดไป เพื่อดำเนินการผลิตในขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้จะไม่นับการขนย้ายภายในหน่วยผลิต
          4. การหยุดชั่วขณะ (delay) เป็นการเสียเวลาในการผลิตหรือการหยุดชั่วขณะ เพื่อรอเรียงลำดับก่อนหลัง หรือรอเพื่อให้หน่วยผลิตที่อยู่ถัดไปว่าง จึงจะส่งเข้าหน่วยผลิตต่อไป
          5. การเก็บรักษา (storage) การเก็บรักษาในความหมายนี้คือ การเก็บวัสดุใด ๆ สำหรับกระบวนการผลิต หรือเก็บผลิตภัณฑ์สำเร็จ เพื่อรอเวลาที่จะนำออกไปใช้งาน
          6. กิจกรรมผสม (multiple operation) หรือการรวมกิจกรรม (combined activities) เมื่อมีกิจกรรมหลาย ๆ กิจกรรมทำร่วมกัน จะใช้สัญลักษณ์วงกลมภายในสี่เหลี่ยม ซึ่งการทำกิจกรรมผสมนี้ อาจจะทำโดยพนักงานคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ วงกลมในหมายถึง การดำเนินงาน และสี่เหลี่ยมภายนอกหมายถึงการตรวจสอบคุณภาพไปพร้อม ๆ กัน ณ หน่วยผลิตนั้น  
          จากการที่ได้กล่าวมาแล้ว ทุกครั้งที่มีการปรับปรุงผังโรงงานใหม่สิ่งที่ผู้วางแผนจะต้องดำเนนิการต่อไป คือ จัดทำแผนภูมิการไหลของกระบวนการผลิต (process flow chart) เพื่อวิเคราะห์หาการไหลของกระบวนการผลิตที่สั้นที่สุด

http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson%207/lesson%207%20-%205.html

การวางผังโรงงานขั้นต้น

การวางผังโรงงานขั้นต้น
          ในการวางผังโรงงานขั้นต้นจะต้องพิจารณาถึงการขนย้ายวัสดุและพื้นที่บริเวณทั้งภายในและภายนอกโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับบริเวณภายนอกจะต้องกำหนดบริเวณที่ตั้งของโรงงาน สนามหญ้า ถนน ที่จอดรถ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ โกดังเก็บของหน่วยบริการอื่น ๆ และหน่วยขนส่งตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ส่วนสำหรับพื้นที่บริเวณภายในโรงงานก็จะต้องรู้ว่าจะแบ่งส่วนงานอย่างไร ติดตั้งเครื่องมือบริเวณใด ส่วนไหนของตัวอาคารโรงงานจะทำอะไร การไหลเวียนของชิ้นงานเป็นอย่างไร ซึ่งการผังโรงงานในขั้นต้นนี้ จะมีข้อที่ต้องพิจารณาอยู่ 2 ประการ คือ
          1. การขนย้ายวัสดุ (material handling) ในการวางผังโรงงาน จะต้องพยายามหาวิธีที่จะทำให้การขนย้ายวัสดุ (material handling) เป็นไปอย่างสะดวกที่สุด และการขนย้ายวัสดุที่ดีจะต้องให้เป็นเส้นตรงสายการผลิตไม่ย้อนเส้นทางเดิม ปัจจุบันมีการประดิษฐ์เครื่องมือใหม่ ๆ สำหรับใช้ในการขนย้ายวัสดุ ในการวางผังการขนย้ายวัสดุ ผู้รับผิดชอบจะต้องรู้ว่าทางโรงงาน จะเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการขนย้ายวัสดุแบบใด และในอนาคตจะนำเครื่องมือแบบใดเข้ามาใช้ในการขนย้ายวัสดุ การวางผังเส้นทางการขนย้ายวัสดุ จะต้องวางผังให้สอดคล้องกับเครื่องมือ เครื่องจักร ในการขนย้ายวัสดุที่จะมาใช้ด้วย เช่น ลักษณะเครื่องขนย้าย ขนาดความกว้าง ความสูง ทิศทาง การเคลื่อนที่ ซึ่งลักษณะเครื่องมือ เครื่องจักรที่นำมาใช้ในการขนย้ายนั้นมีด้วยกันหลายอย่าง คือ
                1.1 ขนย้ายวัสดุเป็นหน่วย (a unit load system) เป็นการขนย้ายวัสดุเป็นหน่วยหรือเป็นชุดสำหรับงานที่เส้นทางขนย้ายเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ หรือเส้นทางขนย้ายวัสดุมีขนาดกว้างใหญ่พอ เครื่องมือที่นิยมใช้ขนย้ายวัสดุแบบเป็นหน่วย คือ รถยก (froklift truct) การขนย้ายวัสดุโดยใช้รถยก (froklift truct) จะเป็นการขนย้ายที่ไม่ไกลเกินไป เช่น อาจขนย้ายวัสดุจากโรงเก็บไปยังแผนกต่าง ๆ ภายในโรงงาน แต่ถ้าเป็นการขนย้ายระยะทางไกล ๆ ส่วนมากจะใช้รถบรรทุก รถไฟ รถพ่วง ถ้าหากเป็นการขนย้ายไปต่างประเทศก็จะใช้ เรือ ขนส่งสินค้าผ่านทางท่าเรือคลองเตย หรือไม่ก็ใช้เครื่องบินลำเลียง   
                1.2 การขนย้ายโดยใช้สายพานลำเลียง (conveyor systems) การขนย้ายวัสดุ โดยใช้สายพานลำเลียง เป็นการขนย้ายชนิดหนึ่งที่นิยมกันมาก ก็เนื่องจากการขนย้ายแบบนี้เป็นการขนย้ายได้มากและขนย้ายวัดสุเกือบตลอดเวลา โดยการขนย้ายแบบใช้สายพานลำเลียงนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางลำเลียง เช่น การลำเลียงกระป๋องอาหารที่บรรจุสำเร็จเรียบร้อย การลำเลียงดินหรือถ่านหินลิกไนต์ ในเหมืองแร่แม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (EGAT--Electricity Generation Authority of Thailand)
                1.3 การขนย้ายวัสดุแบบแขวน (overhead handling equipment) เป็นการขนย้ายวัสดุวิธีหนึ่งที่ใช้วิธีการขนย้ายวัสดุแบบธรรมดา ทำได้ไม่สะดวกเนื่องจากพื้นที่โรงงานไม่เพียงพอ หรือวัสดุที่ขนย้ายมีขนาดใหญ่จะเป็นการลำบากมากหรือทำไม่ได้ หากจะใช้วิธีการขนย้ายธรรมดา จึงจะต้องใช้ วิธีขนย้ายวัสดุแบบแขวน (overhead handling equipment) เช่น การลำเลียงโครงข้างตัวถังรถบัสโดยสาร ของโรงงานประกอบรถบัส บริษัทที่ผลิตแห่งหนึ่ง ขึ้นประกอบ การลำเลียงตู้บรรจุหีบห่อ (containers) จากเรือบรรทุกขึ้นฝั่ง เป็นต้น ตัวอย่างเครื่องมือขนย้ายแบบนี้ ได้แก่ ปั่นจั่นแขวนแบบต่าง ๆ เป็นต้น
การเลือกใช้เครื่องมือขนย้ายวัสดุ
          ในอุตสาหกรรมการผลิต ค่าใช้จ่ายทางอ้อมมีผลต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายวัสดุเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง ดังนั้น เราจะเลือกเครื่องมือขนย้ายวัสดุแบบใด จะต้องพิจารณาและยึดหลักปฏิบัติ ดังนี้ (อ้างจาก ฉลวย ธีระเผ่าพงษ์ และอุทัยวรรณ สุวคันธกุล, 2536 หน้า 113) คือ
          1. เครื่องมือดังกล่าวจะต้องทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายวัสดุต่ำสุด (save cost transport)
          2. เวลาในการขนย้ายวัสดุลดลง (save time)
          3. ทำให้การขนส่งเป็นไปด้วยความรวดเร็ว (rapid transport)
          4. บริเวณโรงงานใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ได้มากขึ้น
          5. ทำการขนย้ายได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (easy transport)
          6. ลดความเสียหายอันเนื่องมาจากการขนย้าย (reduce defect of transportation)
          7. การขนย้ายมีความปลอดภัยต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการขนย้ายสูง (safety)
          เครื่องมือขนย้ายวัสดุนอกจากจะคำนึงถึงหลักการต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว เรายังจะต้องคำนึงถึง ลักษณะของเครื่องมือที่ออกแบบมาด้วย ซึ่ง (ฉลวย  ธีระเผ่าพงษ์ และอุทัยวรรณ สุวคันธกุล, 2536 หน้า 113) ได้เสนอเอาไว้ ดังนี้
          1. ชานชลารับส่งของในโรงงานกว้างขวางและสูงต่ำแค่ไหน
          2. ความสูงของประตูโรงงาน เป็นอย่างไร
          3. ความสูงของเพดานโรงงาน
          4. ความแข็งแรงของตัวอาคารโรงงาน
          5. การใช้กระแสไฟฟ้า
          6. ลักษณะผังภายในโรงงาน
          2. การกำหนดพื้นที่ภายในโรงงาน (area setting)
                2.1 การกำหนดพื้นที่ให้หน่วยการผลิตแต่ละหน่วย จะต้องพิจารณาถึงพื้นที่สำหรับการติดตั้งเครื่องจักร จำนวนเครื่องจักร ทางเดิน หน่วยซ่อมบำรุง หน่วยบริการที่เก็บวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิตเสร็จแล้ว รวมทั้งพื้นที่สำหรับการติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกด้วย
                2.2 การกำหนดพื้นที่เป็นทางเดิน ทางเดินภายในโรงงาน (plant foot bath) มีความสำคัญมาก เนื่องจากพนักงานใช้ทางเดินเป็นเส้นทางการขนส่งวัสดุ การจัดทางเดินมีผลต่อประสิทธิภาพของโรงงาน ทั้งนี้เพราะการจัดพื้นทางเดินจะมีผลต่อเวลาในการขนย้ายวัสดุ ชั่วโมงใช้งานของเครื่องขนย้ายวัสดุ วัยของคนงาน ความปลอดภัยภายในโรงงานและการเคลื่อนที่ของวัสดุ การกำหนดพื้นที่ไว้สำหรับเป็นทางเดินจะทำให้เรามีพื้นที่ที่สามารถใช้ในการผลิตน้อยลง แต่ก็เป็นสิ่งที่จะต้องทำถ้าหากลดพื้นที่ที่ใช้เป็นทางเดินภายในลงจะทำให้เกิดปัญหาในการขนย้ายวัสดุ เพราะวัสดุบางอย่างเมื่อบรรจุกล่องแล้ว อาจจะทำให้ไม่สะดวกในการขนย้าย และจะเสียเสลามากในการเคลื่อนย้ายเส้นทางเดินแคบ ๆ แต่ถ้าใช้พื้นที่เป็นทางเดินมากเกินไปก็จะเสียพื้นที่ที่ใช้ทำงาน และเมื่อมีทางเดินกว้างบางทีอาจจะปรับเป็นที่เก็บของได้ด้วย 
          ทางเดินหลัก คือ ทางเดินระหว่างแผนกต่าง ๆ และทางเดินเข้าและออกจากโรงงานทุกโรงงานควรจะจัดพื้นที่ไว้เป็นทางเดินหลัก เพื่อสะดวกในการดำเนินงานภายในองค์การ โดยคำนึงถึงความคล่องในการเดิน เข้า-ออก ของพนักงาน สะดวกในการเคลื่อนย้ายวัสดุจากแผนกหนึ่งไปยังแผนกหนึ่ง และง่ายต่อการติดตามประเมินผลตรวจการทำงานของฝ่ายบริหาร ทางเดินหลักในโรงงาน (ฉลวย ธีระเผ่าพงษ์ และอุทัยวรรณ สุวคันธกุล, 2530 หน้า 121) ได้เสนอแนะเอาไว้ว่าควรให้อยู่ตรงกลาง โรงงานระหว่างแผนก และการจัดทางเดินหลักนั้น ควรจะจัดให้มีการหักมุมน้อยที่สุดทางเดินในแผนกจะแคบกว่าทางเดินหลัก ทางเดินนี้จะอยู่ด้านข้างของเครื่องจักร หรือข้างบริเวณทำงาน ทางเดินในแผนกก็จะต่อเชื่อมกับทางเดินหลัก
ข้อมูลที่จำเป็นในการพิจารณา กำหนดบริเวณทางเดินและความกว้างของทางเดินมีดังนี้ คือ
          1. ระบบการขนย้ายวัสดุเป็นอย่างไร
          2. เครื่องจักรที่ใช้ในการขนย้ายวัสดุ และรัศมีการทำงานเป็นอย่างไร
          3. ชนิดของวัสดุที่จะใช้ขนย้าย
          4. จำนวนวัสดุที่จะใช้ขนย้ายในแต่ละครั้ง
          5. การขนย้ายจะขนย้ายแบบใด จะเป็นแบบทางเดียวหรือแบบสวนทางกัน
          6. จำนวนเที่ยวของการขนย้าย มากน้อยอย่างไรในแต่ละวัน
          7. ลักษณะการเคลื่อนที่ของวัสดุ แนวตั้ง แนวนอน เป็นต้น
 

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การวางผังโรงงาน

การวางผังโรงงาน (plant layout)

          หลังจากที่เราได้เลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน และได้ทำการก่อสร้างอาคารโรงงานเรียบร้อยแล้วหรือบางครั้งอาจจะจัดหาโรงงานด้วยวิธีการเช่าอาคาร ที่เขาได้ปลูกสร้างเอาไว้เสร็จแล้ว ผู้บริหารจะเริ่มวางแผนการจัดวางแผนผังโรงงาน เพื่อการที่จะให้สามารถใช้พื้นที่ในโรงงานที่มีอย่างจำกัดและมีราคาแพง ให้ได้ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุดนอกจากนี้ยังช่วยให้กระบวนการการผลิตเป็นไปอย่างรวดเร็วไม่ขาดช่วง ตามขั้นตอนการผลิต และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายวัสดุจากสถานที่ทำการผลิตแห่งหนึ่งไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง ในระบบการผลิตนั้นถือว่า การลำเลียงปัจจัยในการผลิตเข้าสู่ระบบการผลิตนั้นจะมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ ก็ต่อเมื่อมีการวางแผนผังโรงงานที่ดีถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งงานนี้ผู้บริหารและวิศวกรโรงงานจะต้องร่วมมือกันทำงานอย่างใกล้ชิด จึงจะทำให้งานสำเร็จลงได้ด้วยดี

          การวางแผนผังโรงงาน หมายถึง งานหรือแผนการในการติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือและวัตถุต่าง ๆ ที่จำเป็นในกระบวนการผลิต ภายใต้ข้อจำกัดของโครงสร้างและการออกแบบของอาคารที่อยู่ เพื่อทำให้การผลิตมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด 

วัตถุประสงค์ในการวางผังโรงงาน (objective of plant layout)

          โรงงานที่มีการวางผังที่ดีย่อมจะได้เปรียบหลาย ๆ ด้าน เพราะยังผลถึงความประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ใช้พื้นที่ได้คุ้มค่าเกิดความปลอดภัย กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นข้อดีหรือเป็นประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีก เช่น
          1. ลดระยะทางและเวลาการเคลื่อนย้ายวัสดุ
          2. ช่วยทำให้วัตถุดินไหลไปได้รวดเร็ว และราบรื่นพร้อมทั้งขจัดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานที่มีมากเกินไป
          3. เพื่อสะดวดในการดำเนินงาน  โดยแบ่งเนื้อที่ภายในโรงงานให้เหมาะสม เช่น ช่องทางเดินพื้นที่เก็บสินค้า พื้นที่พักวัตถุดิบและจุดปฏิบัติงาน หรือพักชิ้นงานที่เป็นสินค้าสำเร็จรูป
          4. ขจัดสิ่งรบกวน การสั่นสะเทือนของพื้นที่ ฝุ่นละออง ความร้อน กลิ่นการถ่ายอากาศ เป็นต้น
          5. จัดแผนงานต่าง ๆ ให้ทำงานในกรอบความรับผิดชอบชัดเจน ให้เอื้อต่อกระบวนการ ผลิตและง่ายต่อการควบคุม
          6. จัดวางพื้นที่ให้มีประโยชน์อย่างเต็มที่ ไม่ควรให้พื้นที่ว่างเปล่า หรือสูญเปล่ามากเกินไป
          7. ลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ และสร้างความปลอดภัยให้กับคนงาน

          จากข้อดีที่กล่าวมาดังกล่าว เป็นสิ่งที่ผู้วางผังโรงงานทุกคน ตลอดจนผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง มุ่งหวังที่จะให้มีอยู่ในผังโรงงานนั้น ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นวัตถุประสงค์ของการวางผังโรงงาน การที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้นก็คือ การวางผังโรงงานของผู้วางผัง และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนที่พยายามร่วมกันคิด และหาแนวทางให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ

          เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ผู้บริหารอุตสาหกรรมควรจะเตรียมข้อมูลพื้นฐานในการวางผังโรงงานเอาไว้ดังนี้ (ฉลวย ธีระเผ่าพงษ์ และอุทัยวรรณ สุวคันธกุล, 2532 หน้า 63 – 64)
          1. วางผังโรงงานขั้นต้นก่อนที่จะมีการวางผังอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
          2. เตรียมที่ดีที่สุดไว้ก่อนขั้นแรก  แล้วจึงนำผังนี้ไปเป็นหลักในการวางผังให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
          3. พิจารณาเลือกวิธีการผลิต และเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต
          4. เลือกแบบผังโรงงาน
          5. เลือกระบบการขนย้ายวัสดุ
          6. วางผังโรงงานให้เข้ากับตัวอาคารโรงงาน
          7. วางผังโดยใช้รูปวาด หรือแบบจำลองเป็นเครื่องช่วย 
          8. ติดต่อขอทราบความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากบุคลที่เกี่ยวข้อง
          9. วางผังโรงงานไว้หลาย ๆ แบบจึงเลือกแบบที่ดีที่สุดไว้เพียงแบบเดียว
          10. ขออนุญาตเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวของให้เป็นที่เรียบร้อย

ปัจจัยที่พิจารณาในการวางแผนผังโรงงาน

          1. ความต้องการสำหรับผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องการเครื่องจักรในการผลิตสำหรับวัตถุประสงค์ก็แตกต่างไปในการผลิต่แต่ละชนิด ซึ่งการวางแผนที่ควรจะให้มีความยืดหยุ่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการใช้เครื่องจักรต่าง ๆ ควรมีการวางแผนไว้สำหรับการใช้เครื่องจักรโดยทั่ว ๆ ไป เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็อาจจะเปลี่ยนได้โดยง่าย
          2. การเสี่ยงภัยของความล้าสมัยของเครื่องจักร เครื่องจักรในปัจจุบันมีความล้าสมัยเร็วเพราะโรงงานผลิตได้พยายามปรับปรุงและผลิตรูปแบบใหม่ ๆ มันจึงเป็นเรื่องเสี่ยงภัยและไม่ฉลาดเลย ในการจะลงทุนซื้อเครื่องจักรที่ใกล้จะล้าสมัยมาติดตั้งใช้ในโรงงาน
          3. คุณภาพของผลผลิต คุณภาพของการผลิตเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงในเรื่องการวางแผนผังโรงงานเพราะวัตถุประสงค์ของการผลิต คือต้องการให้สินค้ามีคุณภาพสูง ดังนั้นในบางครั้งคุณภาพของสินค้าอาจจะลดลงเพราะ แบบการติดตั้งเครื่องจักรไม่ถูกต้องจึงทำให้คุณภาพของสินค้าอาจลดลง ด้วยสาเหตุจากการใช้เครื่องจักรล้าสมัยจึงทำให้สินค้านั้นล้าสมัยไปด้วย ดังนั้นจึงควรใช้เครื่องจักรใหม่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้ใหม่ตามไปด้วย ซึ่งเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตไปในตัว
          4. ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เครื่องจักรมักจะเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้อย และถ้าหากติดตั้งเครื่องจักร เพื่อที่จะใช้ผลิตต่อเนื่องกันได้ ก็นับว่าจะลดต้นทุนในการบำรุงรักษาให้น้อยลงได้

ขั้นตอนการวางผังโรงงาน (step of plant layout)

          ในการวางผังโรงงาน เป็นขั้นตอนที่ผู้บริหารโรงงานจะวางผังโรงงาน จากการสร้างโรงงานใหม่ หรือวางผังโรงงานอาคารที่สร้างไว้แล้ว หรือเป็นการขยายโรงงาน ผู้บริหารโรงงานก็จะต้องดำเนินการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ
          1. วางผังโรงงานขั้นต้น
          2. วางผังโรงงานอย่างละเอียด
          3. ติดตั้งเครื่องจักร ตามผังที่วางไว้แล้ว
 


http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson%207/lesson%207.html

คุณสมบัติของนักออกแบบผลิตภัณฑ์

การออกแบบผลิตภัณฑ์คืออะไร? จริงๆ แล้วถ้าจะพูดกันให้เข้าใจไม่ยุ่งยากจนเกินไป มันก็คือ การออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ เพื่อนำมาใช้สอย ในชีวิตประจำวัน โดยเน้นการผลิตจำนวนมากในรูปสินค้า เพื่อให้ผ่านไปยังผู้บริโภค(Consumer)ในวงกว้าง โดยที่รูปแบบและคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะเป็นปัจจัยสำคัญ ชักจูงผู้บริโภคให้เกิดความกระหายที่จะจ่ายเงินซื้อผลิตภัณฑ์นั้น….แล้ว มันมีอะไรบ้างล่ะผลิตภัณฑ์ที่ว่าน่ะ…ก็ทุกอย่างรอบตัวเราแหละ ตั้งแต่ท่านตื่นนอนตอนเช้าเพราะเสียงกริ๊งง…ของเจ้านาฬิกาปลุก เข้าห้องน้ำก็เจอแปรงสีฟัน เสร็จจากธุระส่วนตัวก็จัดการแต่งกาย พร้อมผูกเนคไท สวมรองเท้า คู่ใจ ออกมานั่งจิบกาแฟที่ ม้านั่งสนามหน้าบ้าน พร้อมกับหยิบโทรศัพท์มือถือโทรหาลูกค้า เสร็จจากนั้นคว้ากระเป๋า โน้ตบุ๊คส์ วางไว้เบาะหลัง สตาร์ทรถยนต์ HONDA CRV พร้อมที่จะไปทำงาน และอื่นๆ อีกมากมายที่ท่านต้องสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ ในชีวิตประจำวันยันเข้านอน ไว้มีโอกาสเรามาว่ากันถึงชนิดของผลิตภัณฑ์ (Types of Product) ว่ามีอะไรบ้าง…

แล้วผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีที่มาจากไหน ? บุคคลแรกที่ต้องกล่าวถึงก็คือ คนออกแบบหรือที่เราเรียกว่า นักออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Designer) อาจจะให้คำจำกัดความว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในการฝึกหัด มีประสบการณ์ ทางเทคนิคและความรู้สึกทางสายตาในการรู้จักเลือกวัสดุ โครงสร้าง กลไก รูปร่าง สี การตกแต่งผิวภายนอกและภายในของผลิตภัณฑ์ซึ่งผลิตเป็นจำนวนมาก ด้วยกรรมวิธีทางอุตสาหกรรม นักออกแบบผลิตภัณฑ์อาจจะทำงานเกี่ยวข้องกับหัวข้อทั้งหมด (วัสดุ โครงสร้าง ฯลฯ) หรือเพียงบางส่วนตามที่กล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้น ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่มีอยู่บนโลกใบนี้ต้องมีคนออกแบบและก็มีการปรับปรุง เปลี่ยนไปตามยุคสมัยไม่สิ้นสุด

แล้วถ้าอยากเป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์ล่ะ…จะทำอย่างไร?

คุณสมบัติของ “นักออกแบบผลิตภัณฑ์” ที่ดี จะต้องมีสิ่งเหล่านี้อยู่ (วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. 2548:20)

1. แก้ไขปัญหางานออกแบบ และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้น

2. เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มในการสร้างสรรค์งานออกแบบให้สอดคล้องกับความต้อง การของสังคมทั้งในปัจจุบันและอนาคต

3. ไม่ลอกแบบงานของผู้อื่นและไม่ควรเลียนแบบของโบราณ แต่ควรออกแบบให้มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง

4. มีการศึกษา และปรับปรุงวิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และสามารถแข่งขันกับตลาดได้

5. มีความเข้าใจพื้นฐานทางสังคมและความสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นหลัก

6. เป็นนักสังเคราะห์ที่สามารถผลิตงานออกแบบเป็นรูปธรรมและเหมาะสมกับการใช้งาน ของสภาพสังคมนั้นๆ เช่น การสร้างแนวทางใหม่ในการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทยยุคใหม่ โดยเข้าใจรากเหง้าวัฒนธรรมของตนเองอย่างแท้จริง

จากการศึกษาของผู้เขียนด้านการเรียนการสอนทางการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยนั้น ชื่อหลักสูตร คำ และความหมายมีหลายคำ สังกัดอยู่ในหลายๆ คณะวิชา และหลากสถาบัน ความสับสนในเรื่องคำและความหมายของ อุตสาหกรรมศิลป์ (Industrial Art), ออกแบบอุตสาหกรรม, ศิลปอุตสาหกรรม (Industrial Design) เทคโนโลยีออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial Design Technology) และออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มนักศึกษาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิชาทางด้านการออกแบบ เทคโนโลยี และบุคคลทั่วไป อาจสรุปความหมายโดยรวมทั้งหมดว่าเป็นศิลปะและวิทยาการว่าด้วยการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการศึกษาและค้นคว้าด้านเทคโนโลยีและวัสดุ เพื่อนำมาประกอบในการออกแบบ ให้เกิดความกลมกลืนกับหน้าที่ใช้สอย

สมาคมออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาติ หรือ ICSID (International Council of Societies of Industrial Design) ให้คำจำกัดความของการออกแบบอุตสาหกรรม ว่าเป็นกิจกรรมของความคิดสร้างสรรค์ที่มีจุดประสงค์ เพื่อกำหนดคุณภาพของวัสดุ การผลิตในระบบอุตสาหกรรม คุณภาพไม่เพียงแต่ความสามารถภายนอกแต่หมายถึงโครงสร้าง (structural) และความสัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย (functional relationships) คำจำกัดความที่ใช้อยู่เกิดจากแนวทางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐศาสตร์(changing economic) อุตสาหกรรม (industrial) และองค์ประกอบของสังคมและวัฒนธรรม (social and cultural) (อ้างใน นิรัช สุดสังข์.2548:2)

เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งงง…กับคำและความหมายของการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าคุณจะไปเจอที่ไหนกับ

คำดังที่กล่าวข้างต้นนี้ ให้ถือเสียว่าเป็นการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันก็เป็นอันใช้ ได้…และที่สำคัญถึงแม้ว่าจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันหรือหลักสูตรต่างกัน บ้างในรายละเอียด แต่จุดมุ่งหมายหลักก็คือ การถ่ายทอดความรู้ เนื้อหาสาระ กระบวนการเรียนการสอนศาสตร์ทางด้านการออกแบบ… ให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์และปรัชญาของแต่ละสถาบันนั่นเอง

เพราะฉะนั้นมาเรียนรู้การออกแบบผลิตภัณฑ์กันเถอะ… แล้วคุณจะรู้ว่าชีวิตไม่ได้มีเพียงด้านเดียว

เอกสารอ้างอิง
นิรัช สุดสังข์. 2548. ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.
วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. 2548. หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์.
กรุงเทพฯ:แอ๊ปป้า พริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด.

ที่มา
http://www.finearts.cmu.ac.th

การออกแบบผลิตภัณฑ์

การออกแบบผลิตภัณฑ์


การออกแบบผลิตภัณฑ์ [product design] คือการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ เพื่อนำมาใช้สอยในชีวิตประจำวัน โดยเน้นการผลิตจำนวนมาก ในรูปสินค้า เพื่อให้ผ่านไปยังผู้บริโภค[consumer]ในวงกว้าง โดยที่รูปแบบและคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะเป็นปัจจัยสำคัญ ชักจูงผู้บริโภคให้เกิดความกระหายที่จะจ่ายเงินซ้อผลิตภัณฑ์นั้น

จากข้อสรุปข้างต้น การออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายด้านซึ่งควรจะได้พิจารณาคือ

1.การออกแบบที่สัมพันธ์กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์

2.การออกแบบที่สัมพันธ์กับวัสดุและกระบวนการผลิต

3. การออกแบบที่สัมพันธ์กับความต้องการของผู้บริโภค

4.การออกแบบที่มีคุณค่าทางความงาม

การออกแบบที่สัมพันธ์กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์

การออกแบบผลิตภัณฑ์ ควรต้องพิจารณาถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นประการแรกเพื่อจะได้ออกแบบให้ได้ความคงทนถาวรมากน้อย หรือให้เหมาะสมกับการใช้เพียงชั่วคราวของผลิตภัณฑ์นั้น เพราะการออกแบบจะต้องคำนึงถึงวัสดุและเวลาการผลิตไปพร้อมกัน ถ้าออกแบบโดยไม่ได้ศึกษาถึงคุณภาพตามเป้าหมายของการผลิตแล้ว ก็ไม่สามารถออกแบบที่เหมาะสมได้

การออกแบบที่สัมพันธ์กับวัสดุและกระบวนการผลิต

ในที่นี้ใคร่ขอย้ำทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยตรง ด้วยการผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ กำลังการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์จำนวนมาก มีความจำเป็นยิ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตเช่น เครื่องจักรกล หรือเครื่องทุ่นแรงอื่นๆ ย่อมเหมาะสมกับวัสดุอย่างหนึ่ง ทำให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องพิจารณาถึงวัสดุและกระบวนการผลิตไปพร้อมกัน

การออกแบบที่สัมพันธ์กับหน้าที่ใช้สอย

หน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะต้องพิจารณา แม้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องกลไกซับซ้อน ผู้ออกแบบจะไม่รู้ระบบการทำงานของผลิตภัณฑ์นั้นทั้งหมด ก็ควรจะรู้การทำงานของผลิตภัณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ หรือแม้แต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเครื่องกลไก ผู้ออกแบบจะต้องทำความเข้าใจกับหน้าที่ใช้สอยเป็นประการสำคัญด้วย

การออกแบบที่สัมพันธ์กับความต้องการของผู้บริโภค

อาจจะพิจารณาได้ 2 แง่คือความต้องการที่สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ กับการสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ

ความต้องการที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่เป็นความต้องการที่เหมาะสมกับสภาพวัฒนธรรม รสนิยม และการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆความต้องการของผู้บริโภคยังเกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจโดยตรงอีกด้วย ถ้าสภาพสังคมที่กำลังเศรษฐกิจตกต่ำการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ราคาสูง สินค้าฟุ่มเฟือย หรือเน้นความงามทางการออกแบบมากจนผลิตภัณฑ์นั้นราคาสูง การออกแบบเช่นนี้ อาจจะไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคได้

การออกแบบที่มีคุณค่าทางความงาม

เพื่อให้ผู้ออกแบบตระหนักถึงความงามที่เด่นชัดร่วมสมัย และมีความคิดสร้างสรรค์แทรกอยู่ในการออกแบบแต่ละชิ้น ความประณีตบรรจงในการออกแบบหรือในผลิตภัณฑ์เป็นคุณค่าส่วนหนึ่งของความงามอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์ทางเลือก

การวิเคราะห์ทางเลือก

          1. ทางเลือกที่จะขยายคลังสินค้าครั้งเดียว 100,000 ตารางฟุต มีผลดีคือ เสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าการขยายคลังสินค้า 2 ครั้ง แต่เงินทุนจะจมอยู่กับการสร้างคลังสินค้าเป็นจำนวนมาก และอาจจะเกิดกำลังการผลิตที่เกินความต้องการถ้าอุปสงค์มีน้อย
          2. ทางเลือกที่จะขยายคลังสินค้า 2 ครั้ง มีผลดีคือ ลดความเสี่ยงในการลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก แต่ก็อาจเสียโอกาสที่จะทำรายได้เพิ่มขึ้นถ้าอุปสงค์มีมาก
          3. ทางเลือกที่จะคงพื้นที่คลังสินค้าเท่าเดิม มีผลดีคือ ไม่ต้องเสี่ยงในการลงทุนด้วยเงินทุนจำนวนมาก แต่จะเสียโอกาสเป็นอย่างมาก ถ้าอุปสงค์มีมาก
การจำลองแขนงการตัดสินใจจากข้อมูลที่มีอยู่ พร้อมทั้งโอกาสหรือความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ ดังในภาพการจำลองแขนงการตัดสินใจ
          1. การคำนวณค่าผลได้เป็นตัวเงินของแต่ละแขนง โดยที่ผลได้รวมเป็นบวก แสดงว่าแขนงนั้นมีกำไร แต่ถ้าผลได้รวมเป็นลบแสดงว่าแขนงนั้นขาดทุน
          การคำนวณมูลค่าคาดหวังของแต่ละทางเลือก ซึ่งแต่ละทางเลือกมี 2 โอกาสคือ อุปสงค์สูงหรืออุปสงค์ต่ำ โดยนำเอาค่าความน่าจะเป็นมาคำนวณด้วยในทุกทางเลือกนั้น
          2. การคำนวณเพื่อเลือกทางเลือกที่มีกำไรสูงสุด
สรุป                  
          กำลังการผลิต คือ
  อัตราสูงสุดที่ระบบการผลิตสามารถผลิตได้เต็มที่ในช่วงเวลาหนึ่งของดำเนินงาน การวัดกำลังการผลิต สามารถกระทำได้ 2 ทาง คือ การวัดกำลังการผลิตจากผลผลิต การวัดกำลังการผลิตจากปัจจัยการผลิต   
          การวางแผนและจัดการด้านกำลังการผลิต ซึ่งเป็นการวางแผนและดำเนินการเกี่ยวกับขนาดของโรงงานหรือสถานที่ทำการผลิต จำนวนเครื่องจักรอุปกรณ์ ตลอดจำนวนคนงานที่เหมาะสม จึงเป็นภาระงานสำคัญของการบริหารการผลิต โดยต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ต่อองค์การในระยะสั้นควบคู่กับระยะยาว
          การกำหนดระดับของกำลังการผลิต มีอยู่ 3 ระดับ คือ กำลังการผลิตในระดับอุปสงค์สูงสุด กำลังการผลิตในระดับอุปสงค์เฉลี่ย กำลังการผลิตในระดับอุปสงค์ต่ำสุด      
          การเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิต ทำได้โดย การผลิตสินค้าเก็บไว้เผื่อช่วงขายดี การรับคำสั่งซื้อของลูกค้าไว้ก่อนแล้วผลิตส่งให้ภายหลัง การเพิ่มหรือลดจำนวนคนงาน การจ้างงานล่วงหน้า การปรับปรุงกระบวนการผลิต การฝึกอบรมพนักงานให้ทำงานต่างหน้าที่  การหยุดการบำรุงรักษาชั่วคราว การทำสัญญาช่วงกับ Subcontract วิธีการทั้งหมดนี้อาจจะเหมาะสมกับบางสถานการณ์เท่านั้น จึงควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย หรือใช้ผสมกันมากกว่าหนึ่งวิธี เพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตที่ใกล้เคียงกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น
- กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. 2542. การบริหารอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : งานตำราและเอกสารการพิมพ์.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- ชุมพล  ศฤงคารศิริ. 2542. การวางแผนและควบคุมการผลิต. กรุงเทพฯ  : ส.เอเชียเพรส (1989).
- เปรื่อง  กิจรัตน์ภร.  2537. การบริการงานอุตสาหกรรม ระบบ และกระบวนการผลิต. กรุงเทพฯ  : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  สถาบันราชภัฏพระนคร.
- ยุทธ  ไกยวรรณ์. 2543. การบริหารการผลิต. กรุงเทพฯ  :  ศูนย์สื่อเสริม.   
- วิชัย  แหวนเพชร. 2536. การวางแผนและควบคุมการผลิต. กรุงเทพฯ  : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรมศาสตร์  สถาบันราชภัฏพระนคร. 
- วินิจ  วีระยางกูร. 2533. การจัดการผลิต. กรุงเทพฯ  : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค.
- สุปัญญา  ไชยชาญ. 2540. การบริหารการผลิต. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ  : พี.เอ.ลีฟวิ่ง.                    
- เสรี  สมนาแซง.  2529. การวางแผนและควบคุมการผลิต. กรุงเทพฯ  :  ขอนแก่น  ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น.


ที่มา http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson%205/lesson%205%20-%209.html
        http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=3288.0

การตัดสินใจเชิงปริมาณในการวางแผนกำลังการผลิต

การตัดสินใจเชิงปริมาณในการวางแผนกำลังการผลิต

          การวางแผนกำลังการผลิตจะต้องอาศัยวิธีการคำนวณเชิงปริมาณเพื่อให้ได้มาซึ่งต้นทุนที่แท้จริงที่จะต้องจ่าย หรือรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อหากำไรจากการตัดสินใจดำเนินการ การวางแผนกำลังการผลิตมีทั้งการวางแผนกำลังการผลิตในระยะสั้นซึ่งมีจะมุ่งหมายในการจัดสรรกำลังการผลิตที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดไม่ว่าในด้านการช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลงมากที่สุดหรือ ด้านการทำกำไรสูงสุดให้แก่กิจการ และการวางแผนกำลังการผลิตในระยะยาวซึ่งจะเป็นการลงทุนขยายกำลังการผลิตภายใต้สถานการณ์ที่มีทางเลือกหลายทาง วิธีการที่ใช้ในการวางแผนกำลังการผลิต มีดังต่อไปนี้
          1. วิธีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เป็นวิธีการง่าย ๆ ที่ใช้ในการวางแผนกำลังการผลิตได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว วิธีนี้จะใช้เมื่อทราบราคาขาย ต้นทุนแปรได้ ต้นทุนคงที่ในระดับกำลังการผลิตต่าง ๆ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนสามารถนำมาใช้เพื่อการวางแผนกำลังการผลิตได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (พิชิต สุขเจริญพงษ์, 2537: 28)
                
          2. วิธีโปรแกรมเชิงเส้น วิธีโปรแกรมเชิงเส้น (linear programming) ใช้ในการตัดสินใจจัดสรรกำลังการผลิตที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกำหนดตัวแปรที่ต้องการตัดสินใจ ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
                  2.1 ตั้งสมการแสดงข้อจำกัดเขียนกราฟสมการข้อจำกัดแต่ละสมการ โดยให้ตัวแปรตัวหนึ่ง (x) = 0 แล้วแทนค่าในสมการข้อจำกัด เพื่อหาจุดตัดแกน y และใช้วิธีเดียวกันนี้หาจุดตัดแกน x เพื่อลากเส้นกราฟให้แสดงพื้นที่ของจ้อจำกัดแต่ละสมการ แล้วหาพื้นที่ของข้อจำกัดร่วมกันทุกสมการ
                  2.2 ตั้งสมการเป้าหมายสูงสุดและเขียนกราฟโดยสมมติให้ค่าสูงสุดเท่ากับจำนวนเลขจำนวนหนึ่ง    (มักใช้ค่าหารร่วมมากของสัมประสิทธิ์ของ x กับ y เป็นค่าสูงสุด
                  2.3 ลากเส้นขนานของสมการเป้าหมายสูงสุดไปตัดพื้นที่ของข้อจำกัด ที่ห่างจุด origin (0,0) มากที่สุด
                  2.4 หาค่าจุดตัดในข้อ 2.3 ซึ่งจะเป็นหารจัดสรรกำลังการผลิตที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดทั้งแกน x และ y
          3. วิธีแขนงการตัดสินใจ วิธีแขนงการตัดสินใจ (decision tree analysis)ใช้ในการตัดสินใจเลือกทางเลือกเพื่อผลลัพธ์ในระยะยาว ซึ่งต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับผลได้และต้นทุนของแต่ละทางเลือก รวมทั้งความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
                 3.1 กำหนดทางเลือกเพื่อตัดสินใจ
                 3.2 กำหนดหนทางของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นพร้อมทั้งโอกาสหรือความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ
                 3.3 กำหนดค่าทางได้เป็นตัวเงินของหนทางเหล่านั้น
                 3.4 คำนวณค่าคาดหมายของทางเลือกแต่ละทาง
                 3.5 เลือกทางเลือกที่ให้ค่าคาดหมายสูงสุด

ที่มา http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson%205/lesson%205%20-%207.html
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=3288.0

การวางแผนกำลังการผลิตในระยะปานกลางและระยะสั้น

การวางแผนกำลังการผลิตในระยะปานกลางและระยะสั้น

           การวางแผนกำลังการผลิตในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปซึ่งต้องอาศัยพยากรณ์เชิงคุณภาพมักจะเกี่ยวข้องกับการเลือกทำเลที่ตั้งการวางแผนโรงงานและการลงทุนระยะยาวที่ไม่ต้องการรายละเอียดในเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องจักร คนงาน อุปกรณ์อำนวยความสะดวกสักเท่าใดนัก แต่สำหรับการวางแผนกำลังการผลิตในระยะปานกลางและระยะสั้น ข้อมูลตัวเลขรายละเอียดของกำลังการผลิตสำคัญมาก เพราะจะต้องใช้เป็นหลักการปฏิบัติงานรายเดือน รายสัปดาห์ และรายวัน ตามแต่ละความละเอียดของการควบคุมงาน การคำนวณเพื่อวางแผนกำลังการผลิต จะต้องมีความถูกต้องแม่นยำสูงภายในข้อจำกัดของวิธีการแต่ละวิธี และทรัพยากรที่มีอยู่
1. การวางแผนกำลังการผลิตแบบ rough cut มี 3 วิธีได้แก่
           1. การวางแผนกำลังการผลิตโดยใช้ปัจจัยทั้งหมด (capacity planning using overall factors หรือ CPOF) เป็นการใช้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกำลังการผลิตซึ่งได้มาจากระบบบัญชีต้นทุนหรือระบบบัญชีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต มาใช้วางแผนกำลังการผลิต วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ทำได้โดยการนำข้อมูลจากแผนลำดับการผลิตหลัก 2 อย่างมาใช้คือ
                  1.1 กำลังการผลิตทั้งหมด (คิดเป็นชั่วโมง) ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหนึ่งหน่วยโดยแยกเป็นชั่วโมงแรงงานต่อหน่วย ชั่วโมงเครื่องจักรต่อหน่วย ฯลฯ ซึ่งก็คือเวลามาตรฐาน (standard time)
                  1.2 ประวัติการใช้สถานีการผลิตนั้น คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับการใช้ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเรียกว่าปัจจัยการวางแผน (planning factor)
การวางแผนกำลังการผลิตแบบ CPOF ทำได้โดยใช้สูตร
                  กำลังการผลิตของสถานี  = ? (จำนวนหน่วยของสินค้าที่ผลิต  x เวลามาตรฐานของแรงงาน หรือเครื่องจักร)
                  กำลังการผลิตของสถานี (เทียบเป็น100) = กำลังการผลิตของสถานี x ปัจจัยการวางแผน
                  CPOF เป็นวิธีที่ง่ายและใช้ข้อมูลไม่มากทำให้เสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่ก็มีข้อเสียในด้านความไม่แม่นยำเท่าที่ควร เพราะละเลยข้อมูลของเวลารอคอยของชิ้นส่วนต่าง ๆ ขนาดของ lot ของชิ้นส่วนที่จะสั่งซื้อ และสถานะปัจจุบันของงานระหว่างทำรวมทั้งสินค้าสำเร็จรูป
2. การวางแผนกำลังการผลิตโดยใช้รายละเอียดของกำลังการผลิต
                การวางแผนกำลังการผลิตโดยใช้รายละเอียดของกำลังการผลิต (capacity planning  using capacity bills หรือ CPOB) เป็นการใช้รายละเอียดของวัสดุ (bill of material หรือ BOM) และเวลามาตรฐานของแต่ละขั้นตอนการทำงาน เพื่อวางแผนกำลังการผลิตวิธีนี้ต้องการข้อมูลที่มีรายละเอียดมากกว่า CPOF จึงให้ผลที่แม่นยำกว่า CB ใช้ข้อมูลทั้งหมดดังต่อไปนี
                - ขนาดของ lot ที่จะใช้ในกระบวนการผลิต
                - สถานีการผลิตที่จะใช้ในการผลิตชิ้นส่วนและประกอบ
                - ลำดับขั้นตอนก่อนหลังในการผลิต
                - เวลามาตรฐานของแรงงานที่ใช้ในการตั้งเครื่องใหม่
                - เวลามาตรฐานของแรงงานที่ใช้ในการผลิต
                - จำนวนชั่วโมงแรงงานทั้งหมดต่อหน่วย      
                - Bill of material
การวางแผนกำลังการผลิตแบบ CB มี 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ
           1. คำนวณเวลามาตรฐานของแรงงานที่ใช้ในการตั้งเครื่องใหม่ต่อหน่วย
           2. คำนวณเวลามาตรฐานของแรงงานที่ใช้ในการผลิตต่อหน่วย
           3. คำนวณเวลามาตรฐานของแรงงานในการผลิตต่อหน่วย ซึ่งเท่ากับเวลามาตรฐานของแรงงานที่ใช้ในการตั้งเครื่องใหม่ต่อหน่วย บวกเวลามาตรฐานของแรงงานที่ใช้ในการผลิตต่อหน่วย
           4. คำนวณหารายละเอียดของกำลังการผลิต (capacity bill) ตามรายการชิ้นส่วนที่ปรากฏใน BOM ทุกชิ้นส่วน
           CB เป็นวิธีการวางแผนกำลังการผลิตที่คล้าย COPF ในด้านความง่ายในการคำนวณและการนำไปใช้งาน แต่ CB จะละเอียดกว่าในแง่ที่มีการนำข้อมูล BOM จะมีรายละเอียดมากกว่าข้อมูลจากระบบบัญชี ทั้ง CPOF และ CB จะเหมาะสมค่อนข้างมากกับองค์การที่ไม่มีระบบ MRP ใช้เพราะเป็นวิธีการง่าย ๆ แต่ข้อเสียของ CB คือไม่ได้นำเอาเวลารอคอยของวัสดุเข้ามาคำนวณด้วยและละเลยขนาดของ Lot ที่ผลิตจริง รวมทั้งสถานะปัจจุบันของงานระหว่างทำและสินค้าสำเร็จรูปเช่นเดียวกัน CPOF
3. การวางแผนกำลังการผลิตโดยใช้ข้อมูลของทรัพยากร   
           การวางแผนกำลังการผลิตโดยใช้ข้อมูลของทรัพยากร (capacityplanning using resource profiles หรือ RP) เป็นการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับเวลารอคอย ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นใช้ในการผลิตและเวลารอคอย ซึ่งโดยปกติแล้วในระบบการผลิตที่มีการผลิตจริงเกือบเต็มกำลังการผลิต(80% ขึ้นไป) เวลาส่วนใหญ่จะหมดไปกับการรอคอย
           RP เป็นวิธีที่นำเอาเวลารอคอยไปคำนวณร่วมกับข้อมูลเกี่ยวกับ BOM เพื่อสร้างแผนภูมิการผลิตย้อนกลับ (operation setback chart) วิธีของ RP นี้จะนำเอาตัวเลขจากวิธีของ CB มาใช้ร่วมกับเวลารอคอย ดังสูตร
           CE i 100 = เวลามาตรฐานในการผลิตต่อหน่วยของงานหนึ่งในสถานี #100xE i  
           โดยที่ E i คือปริมาณที่ระบุในแผนลำดับการผลิตหลักของสินค้าชนิดหนึ่งในช่วงเวลา  I
           กระบวนการผลิตจะปฏิบัติงานจริงในช่วงเวลาใดก็ตามไม่ใช่ว่าจะสามารถหาวัตถุดิบหรือวัสดุต่าง ๆ ได้ทันที แต่ต้องสั่งซื้อไว้ก่อนสักระยะหนึ่ง เช่น ในแผนลำดับการผลิตหลักบอกว่าต้องการผลิตเก้าอี้ในช่วงสัปดาห์ที่ 8 แต่การผลิตที่ว่านี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อโครงเก้าอี้ต้องประกอบเสร็จในสัปดาห์ที่ 5 นอกจากนี้การพ่นสีโครงเก้าอี้ต้องเสร็จก่อนหน้านี้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 และแม้ว่าเวลารอคอยของงานจะถูกกำหนดไว้แต่การผลิตจริงอาจไม่ตรงตามระยะเวลาในแผนงานก็ได้ซึ่งจะทำให้การกำหนดกำลังการผลิตจึงซับซ้อนมากขึ้น
           RP เป็นวิธีการที่แม่นยำที่สุดในบรรดาวิธีการของ rough - capacity planning ทั้ง 3 วิธีแต่อย่างไรก็ดี RP ยังไม่ได้พิจารณาถึงรายละเอียดสถานะสินค้าคงคลัง อันได้แก่ งานระหว่างทำและสินค้าสำเร็จรูป ตลอดจนขนาดของ Lot การผลิตเลย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่สำคัญในการจัดทำระบบการวางแผนความต้องการวัสดุ (MRP) ดังนั้นถ้าองค์การธุรกิจใดใช้ระบบ MRP การวางแผนกำลังการผลิตแบบ rough-capacity จะไม่ละเอียดเพียงพอ ต้องมีการวางแผนกำลังการผลิตแบบอื่น ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป
           การวางแผนกำลังผลิตแบบรายละเอียด (detailed capacity planning) เป็นวิธีการวางแผนกำลังการผลิตที่ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับเวลามาตรฐานและการจัดงาน ประกอบกับรายละเอียดสถานะของงานระหว่างทำและสินค้าสำเร็จรูป ขนาดของ lot การผลิตและวันที่ต้องการของตามที่ระบุไว้ใน MRP เพื่อจัดตารางเวลาของการรับชิ้นส่วน และประมาณการปริมาณสินค้าสำเร็จรูปตามแผนลำดับการผลิตหลัก โดยคำนึงถึงแต่ละช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้กำลังการผลิตทั้งหมดที่มีอยู่ จึงเรียกวิธีการคำนวณนี้ว่า apacity requirement planning หรือ CRP การคำนวณตามวิธีการของ CRP จะยุ่งยากซับซ้อนมาก ซึ่งจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ แต่เป็นวิธีที่แม่นยำกว่าวิธีการของ rough - cut เป็นอันมาก การใช้คอมพิวเตอร์คำนวณจะลดความยุ่งยากและเวลาที่ใช้ ตลอดจนความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้

ที่มา http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson%205/lesson%205%20-%205.html
        http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=3288.0

การควบคุมคุณภาพ

การควบคุมคุณภาพ  (Quality  Control  :  Q.C)

                    โดยทั่วไปสินค้าในตลาดจะมีราคาแปรผันตามคุณภาพสินค้า  สินค้าคุณภาพดีย่อมมีราคาสูงกว่าสินค้าคุณภาพไม่ดี   คุณภาพของสินค้าในอดีตมีความหลากหลาย  และแตกต่างกันมาก  สินค้าบางอย่างที่จำหน่ายในท้องตลาดขาดคุณภาพ  หรือคุณภาพต่ำไม่เหมาะสมกับราคา  รัฐบาลจึงได้มีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสินค้าขึ้น  เพื่อควบคุมคุณลักษณะต่าง ๆ ของสินค้า  เช่น  ลักษณะทางกาย  ได้แก่  ขนาด   น้ำหนัก  สี  ฯลฯ   ลักษณะทางเคมี  ได้แก่    ความเป็นกรดเป็นลักษณะต่าง ๆ  เป็นต้น    ปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าบางอย่างบางชนิด   จะถูกกำหนดคุณภาพในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  ( ม.อ.ก. )  ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของการควบคุม
ความหมายของการควบคุมคุณภาพ  (Definition  of  quality  control)
                    คำว่า การควบคุมคุณภาพ เป็นการรวมคำสองคำเข้าด้วยกัน คำหนึ่งคือคำว่า การควบคุมตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า“Control” ส่วนอีกคำหนึ่งคือ  คำว่า  คุณภาพ  ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า  “Quality”  ซึ่งคำสองคำนี้มีความหมาย  ดังนี้
                   การควบคุม  (Control)  หมายถึง   การบังคับให้กิจกรรมต่าง ๆ ได้ดำเนินการตามแผนที่วางไว้    ( เปรื่อง   กิจรัตน์ภร, 2537 : 202)     ส่วนคำว่า  คุณภาพ  (Quality)  หมายถึง   ผลผลิตที่มีความเหมาะสม  ที่จะนำไปใช้งาน  (Fine  ness  for  use)  ออกแบบได้ดี  (Quality  of  design)  และมีรายละเอียดที่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด  (ศูนย์อบรม  กฟภ. 2531 : 14)  เธียรไชย  จิตต์แจ้ง  (2530  :  666)  ได้ให้ความหมายของการควบคุมว่าหมายถึง  กิจกรรมจำเป็นต่าง ๆ ที่จะต้องกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลตลอดไป  นอกจากนี้  วิชัย  แหวนเพชร  (2536  :   111)  ยังได้ให้ความหมายของคุณภาพไว้ดังนี้  คุณภาพคือ  ผลิตภัณฑ์มีความคงทน  มั่นคง  มีสภาพดีสามารถใช้และทำงานได้ดีรวมทั้งมีรูปร่างสวยงามเรียบร้อยกลมกลืน ทำให้น่าใช้ด้วย กล่าวโดยสรุปแล้ว คุณภาพหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบได้เหมาะสมในงานได้ดี  กระบวนการผลิตดี  มีความคงทน  สวยงามเรียบร้อย  และมีรายละเอียดเป็นไปตามข้อกำหนดของผู้สั่งซื้อที่กำหนดไว้   นอกจากนี้ยังจะต้องมีความปลอดภัยในการใช้งานด้วย    
                   ความหมายของคุณภาพ  (กตัญญู  หิรัญญสมบูรณ์, 2542, หน้า 20-21)  การที่ผลิตภัณฑ์จะมีคุณภาพที่ดี  จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
                   1.  การปฏิบัติงานได้  (Performance)  ผลิตภัณฑ์ต้องสามารถใช้งานได้ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ 
                   2.  ความสวยงาม  (Aesthetics)  ผลิตภัณฑ์ต้องมีรูปร่าง , ผิวสัมผัส , กลิ่น , รสชาติ , สีสัน  ที่ดึงดูดใจลูกค้า
                   3.  คุณสมบัติพิเศษ  (Special  Features)  ผลิตภัณฑ์ควรมีลักษณะพิเศษที่โดดเด่นแตกต่างจากผู้อื่น
                   4.  ความสอดคล้อง  (Conformance)  ผลิตภัณฑ์ควรมีความเสี่ยงอันตรายในการใช้น้อยที่สุด
                   5.  ความปลอดภัย  (Safety)  ผลิตภัณฑ์ควรมีความเสี่ยงอันตรายในการใช้น้อยที่สุด
                   6.  ความเชื่อถือได้  (Reliability)  ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ
                   7.  ความคงทน  (Durability)  ผลิตภัณฑ์ควรมีอายุใช้งานที่ยาวนานในระดับหนึ่ง
                   8.  คุณค่าที่รับรู้  (Perceived  Quality)  ผลิตภัณฑ์ควรสร้างความประทับใจ และมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาลูกค้า 
                   9.  การบริการหลังการขาย  (Service  After  Sale)
                      ธุรกิจมีการบริหารหลังการขายที่ต่อเนื่องทำให้สินค้าสามารถคงคุณสมบัติหรือหน้าที่การงานที่สมบูรณ์ต่อไปได้  รวมทั้งบริการในการรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ด้วย
                      คุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ต้องการ  แต่อย่างไรก็ดี  มุมมองด้านคุณภาพในสายตาของผู้ผลิตและผู้ใช้แตกต่างกัน  เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการใช้สอยผลิตภัณฑ์ของลูกค้า  ย่อมแตกต่างกับพันธกิจ  (Mission)  ในการดำเนินธุรกิจของผู้ผลิต   ดังนั้นจะสรุปทัศนะของผู้ผลิตกับลูกค้าในแง่ของคุณภาพได้ดังต่อไปนี้
                    สำหรับ  ลูกค้า  คุณภาพที่ดีหมายถึง
                    ก.  ผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้ดีตาม  Specification  ที่ระบุไว้
                    ข.  ผลิตภัณฑ์คุ้มค่ากับเงินหรือราคา ที่ลูกค้าจ่ายเพื่อจะได้ผลิตภัณฑ์นั้นมา
                    ค.  ผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับการใช้งานตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ โดยมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม
                    ง.  ผลิตภัณฑ์มีการบริการประกอบเพื่อความสะดวกของลูกค้า หรือเพื่อรักษาสภาพสมบูรณ์ของสินค้าให้คงอยู่ในช่วงระยะเวลาการใช้งานได้ตลอด
                    จ.  ผลิตภัณฑ์สร้างความภาคภูมิใจ  ความประทับใจให้แก่ผู้ใช้
                    สำหรับ  ผู้ผลิต  คุณภาพที่ดีหมายถึง
                    ก.  การผลิตให้ถูกต้องตั้งแต่แรก
                    ข.  การผลิตที่มีระดับของของเสียอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และเป็น Zero  Defects ซึ่งถึงไม่มีของเสียจากการผลิตเลย
                    ค.  การผลิตตามตัวแปรที่ต้องการอย่างถูกต้อง  ไม่เบี่ยงเบนจากมาตรฐานที่ตั้งไว้  
                    ง.  การผลิตที่มีระดับต้นทุนที่เหมาะสม  ซึ่งจะทำให้ลูกค้าที่มีความต้องการสามารถซื้อได้ในระดับราคาที่ยอมรับได้
    
                    เมื่อคำนำสองคำมารวมกันคือ  การควบคุมและคำว่าคุณภาพก็จะได้คำว่า  การควบคุมคุณภาพ  (Quality  control)   วิชัย  แหวนเพชร  (2534  :  112)  ยังได้ให้ความหมายของการควบคุมคุณภาพไว้ว่า  เป็นการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้ผลผลิตอันได้แก่  สินค้า  บริการ  มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานได้ดี กิจกรรมดังกล่าวนั้นได้แก่ การควบคุมวัตถุดิบ การออกแบบ และกระบวนการผลิต วินิจ วีรยางกูร (2523  :  213)  ยังได้ให้ความหมายการควบคุมคุณภาพไว้อีกว่า    เป็นการจัดการควบคุมวัตถุดิบและการควบคุมการผลิต  เพื่อป้องกันไม่ให้ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีข้อบกพร่องและเกิดการเสียหาย    นอกจากนี้   ความหมายของการควบคุมคุณภาพที่ให้ไว้ในคู่มือ  ( MIL - STD -  109 )  คือ  การบริหารงานในด้านการควบคุมวัตถุดิบ   และการควบคุมการผลิตเพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จออกมามีข้อบกพร่องและเสียหายนั่นเอง  (เสรี  ยูนิพนธ์  และคณะ  2528  :  12)  เปรื่อง  กิจรัตน์ภร  (2537 : 202)  ยังได้ให้ความหมายของการควบคุมคุณภาพว่า  หมายถึงการบังคับให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดคุณลักษณะเอาไว้   เช่น  การคัดเลือก  การตรวจสอบวัตถุดิบ  การควบคุมกระบวนการผลิต  ควบคุมพนักงาน   รวมทั้งการตรวจสอบผลิตภัณฑ์และทดสอบผลผลิตด้วย    
กล่าวโดยสรุปแล้ว  การควบคุมคุณภาพ  หมายถึง  การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ผลิตออกมาดีเป็นไปตามแบบ  มีความประณีต  เรียบร้อย  สวยงาม  นำไปใช้งานได้ดี  สะดวก  และเหมาะสมกับราคากิจกรรมดังกล่าวก็คือ  กิจกรมการคัดเลือกวัตถุดิบ  กิจกรรมในกระบวนการผลิต  กิจกรรมการตรวจสอบและทดสอบผลผลิต  เป็นต้น
          ชนิดของคุณภาพ  (Type  of  Quality)
                   การจำแนกคุณภาพสามารถจำแนกออกได้  เป็น  4 ชนิด
                   1.  คุณภาพที่บอกกล่าว  (Stated  Quality)
                   2.  คุณภาพที่แท้จริง  (Real  Quality)
                   3.  คุณภาพที่โฆษณา  (Advertised  Quality)
                   4.  คุณภาพจากประสบการณ์ที่ใช้  (Experienced  Quality)
                   คุณภาพบอกกล่าว  (Stated  Quality)
                   คุณภาพที่บอกกล่าว  หมายถึง  คุณภาพที่กำหนดขึ้นระหว่างผู้ซื้อ  (Customer)  และ ผู้ขาย  (Distributor)    ผู้ซื้อ  (ลูกค้า)  จะเป็นผู้กำหนดว่าอยากจะได้สินค้าที่มีคุณภาพอย่างนั้นอย่างนี้   คุณภาพนี้อาจจะกำหนดลงไปในสัญญาซื้อขาย  (Buy-sale  contract)  เพื่อให้ผู้ผลิตหรือฝ่ายโรงงานทำหน้าที่ผลิต และให้ได้คุณภาพตามที่กำหนดด้วย  หากไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดผู้ซื้ออาจจะไม่ยอมรับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ก็ได้
        คุณภาพแท้จริง  (Real  Quality)
                    หมายถึง  คุณภาพในตัวผลิตภัณฑ์ที่เริ่มตั้งแต่ผลิต และนำผลิตภัณฑ์ไปใช้งานจนกระทั่งผลิตภัณฑ์หมดอายุลง  ระดับคุณภาพแท้จริง  จะมีคุณภาพสูงเพียงใดจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของกระบวนการ  เช่น  การออกแบบ วัตถุดิบที่นำมาใช้ และกระบวนการผลิต  ในกระบวนการผลิตผู้ผลิตจะต้องทำให้ดีที่สุด  เพื่อผลผลิตที่จะออกมาดีแต่หากคุณภาพแท้จริง  ออกมาต่ำกว่าคุณภาพที่คาดหวังไว้ผลเสียก็จะตกแก่ผู้ผลิตสินค้าที่ผลิตออกมาก็จะขายไม่ได้  ผู้บริโภคไม่ไว้วางใจสินค้า และเปลี่ยนไปใช้สินค้าลักษณะเดียวกัน ที่เป็นยี่ห้ออื่น ๆ
คุณภาพที่โฆษณา  (Advertised  Quality)
                   คุณภาพที่โฆษณา  หมายถึง  คุณลักษณะต่าง ๆ ของสินค้า  ที่ผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดเอง และก็โฆษณาทั่วไป  อาจจะวิธีการโฆษณา  (Advertising)  ตามวิทยุ  โทรทัศน์  หนังสือพิมพ์  วารสารตีพิมพ์ต่าง ๆ  หรือแม้แต่กล่องบรรจุภัณฑ์ของสินค้านั้น ๆ  คุณภาพที่โฆษณานี้  สินค้าบางอย่าง  อาจจะมีการโฆษณาเกิดความเป็นจริงได้   ดังนั้นคุณภาพโฆษณานี้  ผู้บริโภค  (consumer)  จะต้องเป็นผู้พิจารณาเองให้รอบคอบ  จึงจะสามารถซื้อสินค้าได้คุณภาพตามที่ต้องการ
 คุณภาพจากประสบการณ์ที่ใช้  (Experienced  Quality)
                   หมายถึง  คุณภาพที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ของผู้ใช้สินค้าเอง  คุณภาพจะดีไม่ดีอย่างไรขึ้นอยู่กับผู้ใช้   หากผู้ใช้สินค้านำสินค้าไปใช้ผลออกมาดี  ก็จะบอกว่าสินค้านั้นดี  และก็อาจจะทำให้ผู้ใช้บอกกันต่อ ๆ ไปด้วย  หากไม่ดี  ผู้ใช้ก็จะบอกว่าสินค้านั้นไม่ดี  ซึ่งคำว่าดีไม่ดีนี้จะขึ้นอยู่กับเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น   ฉะนั้นการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ผู้ผลิต  ควรผลิตให้หลากหลายในสินค้าเดียวกัน  เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกใช้ตามความเหมาะสมของตัวเอง  เช่น  การผลิตน้ำยาสระผม  ผู้ผลิตอาจจะผลิตสูตรสำหรับผมแห้ง  ผมขาดการบำรุงรักษา  สูตรสำหรับหนังศีรษะมีรังแค  สูตรแก้คัน  สูตรป้องกันผมร่วง  เป็นต้น
    
ที่มา:http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson%209/lesson%209.html

ขนาดการผลิตที่ประหยัด

ขนาดการผลิตที่ประหยัด 

          การบริหารการผลิตที่ต้องการประสิทธิภาพในการดำเนินงานย่อมต้องการต้นทนการผลิตที่ต่ำ การจัดการด้านกำลังการผลิตก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้ เพราะเป็นการวางแผนใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกซึ่งเป็นทรัพยากรขององค์การ การมีขนาดการผลิตที่ประหยัด หรือ การที่มีต้นทุนเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยลดลงเนื่องจากการเพิ่มอัตราการผลิตไปจนถึงระดับหนึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องการ และโดยทั่วไปมักจะเข้าใจกันว่าโรงงานขนาดใหญ่และการผลิตในประมาณสูงจะทำให้เกิดขนาดการผลิตที่ประหยัด อันที่จริงแล้วขนาดการผลิตที่ประหยัดมีสาเหตุมาจาก
          1. การเฉลี่ยต้นทุนคงที่ต่อหน่วยให้ต่ำลง ด้วยปริมาณการผลิตที่มากขึ้นค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนคงที่จะไม่เปลี่ยนแปลงในระดับการผลิตหนึ่ง เช่น ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ถ้าปริมาณการผลิตมากขึ้น ค่าใช้จ่ายคงที่เหล่านี้จะถูกหารเฉลี่ยด้วยจำนวนที่มากขึ้นทำให้ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยลดลง จึงมักมีการสร้างโรงงานขนาดใหญ่เพื่อที่จะผลิตได้ในปริมาณมากกว่าอุปสงค์ในขณะนั้น และเมื่ออุปสงค์เพิ่มขึ้นในเวลาต่อมาจากทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มจนเกิดขนาดการผลิตที่ประหยัดได้
          2. การลดต้นทุนค่าก่อสร้างโรงงาน เมื่อก่อสร้างโรงงานจะมีค่าใช้จ่ายในการเขียนแบบและค่าธรรมเนียมในการอนุญาตสร้าง ซึ่งแม้โรงงานขนาดใหญ่ขึ้นค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็เพิ่มขึ้นไม่มากเท่าใดนักต้นทุนค่าก่อสร้างโรงงานมักเพิ่มขึ้นตามพื้นที่แต่กำลังการผิตที่ได้จะเพิ่มขึ้นตามปริมาตร เช่น ต้นทุนค่าโลหะที่สร้างถึงเก็บน้ำมันแปรตามจำนวนตารางเมตรของแผ่นโลหะที่ใช้แต่ความจุของถังเพิ่มตามปริมาตร ดังนั้นต้นทุนค่าก่อสร้างโรงงานจะเพิ่มขึ้นช้ากว่ากำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น
          3. การลดต้นทุนค่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เมื่อปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นย่อมต้องการวัตถุดิบมากขึ้น การซื้อวัตถุดิบครั้งละมาก ๆ จะช่วยให้ได้ส่วนลดปริมาณ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนวัตถุดิบซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตลดลง
          4. การได้ประโยชน์จากการใช้กระบวนการผลิตในการผลิตปริมาณมาก การผลิตปริมาณมากจะทำให้ใช้กระบวนการผลิตเฉพาะผลิตภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งเป็นการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ทั้งกระบวนการในการผลิตสินค้าชนิดเดียวในปริมาณที่สูง ส่งผลให้เวลาการตั้งเครื่องเครื่องจักรใหม่มีน้อยลง เกิดความชำนาญในการผลิต ต้นทุนสินค้าคงคลังลดลงเพราะผลิตได้รวดเร็วขึ้น ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงในที่สุด
          5. การใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้าเข้ามาช่วยลดเวลาในการผลิต เทคโนโลยีจะช่วยลดความเสียหายจากกระบวนการผลิต เช่น การใช้หุ่นยนต์ หรือแขนกล เข้ามาช่วย การนำระบบอัตโนมัติที่มีความเที่ยงตรงมาใช้จะลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ ทำให้ต้นทุนการผลิตรวมลดลง
                    
          อย่างไรก็ดี การเพิ่มขนาดของโรงงานเครื่องจักรอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกก็อาจทำให้เกิดขนาดการผลิตที่ไม่ประหยัดได้เช่นกันขนาดการผลิตที่ไม่ประหยัด (diseconomies of scale) เกิดจากการผลิตปริมาณมากที่ควบคุมดูแลไม่ทั่วถึงความซับซ้อนของระบบการปฏิบัติงานมีมากจนเกิดความไร้ประสิทธิภาพ กฎเกณฑ์ระเบียบมากมายจนเกิดความล่าช้า ซึ่งมักจะปรากฏผลอยู่บ่อย ๆ ว่าองค์การขนาดเล็กบางแห่งมีผลการประกอบการดีกว่าองค์การขนาดใหญ่เพราะมีต้นทุนต่ำกว่า
กลยุทธ์ในการจัดการกำลังการผลิต
          ในปัจจุบันได้มีกลยุทธ์วิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการกำลังการผลิตหลายวิธี บางวิธีเป็นวิธีเก่าดั้งเดิม แต่บางวิธีก็เป็นแนวทางใหม่ อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ในการจัดการกำลังการผลิตต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์อื่น ๆ ของการบริหารการผลิต และต้องกลมกลืนกับการดำเนินงานของฝ่ายอื่น ๆ เช่น ฝ่ายการเงิน ฝ่ายการตลาดในองค์การด้วย กลยุทธ์ในการจัดการกำลังการผลิตมีดังต่อไปนี้
          1. กำหนดกำลังการผลิตสำรอง เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์อย่างกะทันหัน หรือกำลังการผลิตที่มีอยู่เกิดขัดข้องชั่วขณะต้องอาศัยส่วนสำรองช่วยปฏิบัติงานไปก่อน โดยปกติ
          การกำหนดกำลังการผลิตสำรองไว้มากเป็นการลงทุนสูง แต่ก็มีความจำเป็นในกรณีที่อุปสงค์ในแต่ละช่วงแตกต่างกันมากจึงต้องเผื่อไว้ในช่วงฤดูกาล หรือในกรณีที่การผลิตต้องเป็นไปตามความต้องการของลูกค้า (high customization) หรือเผื่อคนงานจะเกิดการขาดงาน หรือความต้องการใน product mix เปลี่ยนไป แม้ความต้องการรวมจะคงที่ก็ตามจึงต้องเก็บสินค้าคงคลังไว้ในรูปของวัตถุดิบแล้วผลิตตอบสนองอุปสงค์ด้วยกำลังการผลิตสำรองนี้
          การกำหนดกำลังการผลิตสำรองไว้น้อยจะลงทุนน้อยกว่าและสิ้นเปลืองต้นทุนของกำลังการผลิตที่ไม่ได้ใช้น้อยกว่า ซึ่งเหมาะกับธุรกิจประเภท capital intensive ที่ใช้เครื่องจักรในการผลิตสูง การกำหนดกำลังการผลิตสำรองไว้น้อยนี้เหมาะกับการผลิตแบบทันเวลาพอดีเพราะการผลิตแบบทันเวลาพอดีจะผลิตตามที่ลูกค้าต้องการในปริมาณที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีการสำรองไว้อีก
          2. สร้างกำลังการผลิตที่มีความยืดหยุ่นทั้งด้านปริมาณและลักษณะการผลิต ซึ่งการมีกำลังการผลิตสำรองก็ช่วยสร้างความยืดหยุ่นของกำลังการผลิตได้ นอกจากนั้นการเลือกชนิดของเครื่องจักรอุปกรณ์ที่สามารถปรับใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์หลายชนิดก็สร้างความยืดหยุ่นของกำลังการผลิตได้เช่นกัน เช่น การใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่น้อยเครื่องอาจจะไม่ยืดหยุ่นในการผลิตเมื่อเปรียบเทียบกับ การใช้เครื่องจักรขนาดเล็กจำนวนมากซึ่งจัดกระบวนการผลิตเปลี่ยนไปตามความร้องการได้ง่ายกว่า
                1. พยายามปรับกำลังการผลิตให้สมดุล โดยการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายคนงานเครื่องจักร, กระบวนการหรือออกแบบผลิตภัณฑ์เสียใหม่ หรืออาจจะผลิตสินค้าที่มีช่วงฤดูกาลตรงกันข้ามเพื่อรักษาระดับกำลังการผลิตให้คงที่ตลอดปีใช้เทคนิค focused factory ซึ่งเป็นวิธีการแบ่งแยกโรงงานใหญ่ที่ผลิตทุกผลิตภัณฑ์ในที่ที่เดียวออกเป็นโรงงานเล็กผลิตสินค้าเฉพาะในหลาย ๆ แห่งเพื่อจำกัดความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง  ๆ ให้อยู่ในขอบเขตที่ปฏิบัติงานได้ดี โดยใช้วิธีของ problem solving team คือใช้ทีมพนักงานฝ่ายปฏิบัติการร่วมมือกันทำงานที่เน้นเฉพาะเรื่องมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะทำให้พนักงานสามารถทำงานบริหารขั้นต้นได้ทำให้ชั้นของการบริหารลดน้อยลง และใช้เวลาในการติดต่อสื่อสารน้อยลง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงด้วย
                2. วิธีของ focused factory นี้อาจใช้กับโรงงานขนาดใหญ่ก็ได้โดยการจัดเป็น plants within plant ภายใต้หลังคาเดียวกัน ถ้าพิจารณาผิวเผินจะรู้สึกว่าวิธีนี้ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น เพราะไม่เน้นการผลิตในปริมาณมาก ๆ ที่จะช่วยลดต้นทุนได้ แต่ในปัจจุบันธุรกิจทั้งหลายประสบกับสภาวะการแข่งขันสูง เทคโนโลยีก้าวหน้าเร็ว ทำให้วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์สั้นลงและลูกค้าแต่ลุคนมีความต้องการเฉพาะอย่างมากขึ้น การสร้างโรงงานใหญ่จึงไม่สามารถทำให้ประหยัดต้นทุนได้เสมอไป เพราะปริมาณการผลิตในระดับขนาดการผลิตที่ประหยัดอาจอยู่สูงกว่าอุปสงค์ที่ตลาดต้องการ


ที่มา http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson%205/lesson%205%20-%204.html
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=3288.0