พิกุล โสกชาตรี

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประเภทของการผลิต



ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์

                       - การผลิตตามคำสั่งซื้อ (Made-to-order) เป็นการผลิตที่คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย การเตรียมการผลิตและวัตถุดิบที่ต้องการจะใช้ตลอดจนกระบวนการผลิตจึงไม่สามารถคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้ เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ต้องเป็นแบบอเนกประสงค์ และผู้ผลิตต้องมีความสามารถและความชำนาญหลายอย่าง เพื่อทำการผลิตสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ ตัวอย่างของการผลิตตามคำสั่งซื่อได้แก่ การตัดเย็บชุดวิวาห์ การรับสร้างบ้านบนที่ดินของลูกค้า การทำผม ฯลฯ
                        - การผลิตเพื่อรอจำหน่าย (Made-to-stock) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะเป็นมาตรฐานเดียวกันตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายส่วนใหญ่ การจัดหาวัตถุดิบและการเตรียมกระบวนการผลิตสามารถทำได้ล่วงหน้า เครื่องจักรอุปกรณ์จะเป็นเครื่องมือเฉพาะงานและผู้ผลิตถูกอบรมมาเพื่อทำงานตามหน้าที่เฉพาะอย่าง ตัวอย่างของการผลิตเพื่อรอจำหน่ายได้แก่การผลิตสบู่ การผลิตรถยนต์ การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแบบนักเรียน ฯลฯ

                        - การผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อ (Assembly-to-order) เป็นการผลิตชิ้นส่วนที่จะประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูได้หลายชนิด ซึ่งชิ้นส่วนเหล่านั้นจะมีลักษณะแยกออกเป็นส่วนจำเพาะหรือโมดูล (Module) โดยผลิตโมดูลรอไว้ก่อน เมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าจึงทำการประกอบโมดูลให้เป็นสินค้าตามลักษณะที่ลูกค้าต้องการ จึงนับได้ว่าการผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อได้นำเอาลักษณะของการผลิตเพื่อรอจำหน่ายซึ่งมีการผลิตชิ้นส่วนเป็นโมดูลมาตรฐานที่ใช้ประกอบเป็นสินค้าหลายชนิดรอไว้มาผสมเข้ากับลักษณะของการผลิตตามคำสั่งซื้อซึ่งนำโมดูลมาประกอบ และแต่งเติมรายละเอียดให้สินค้าสำเร็จรูปมีความแตกต่างกันไปตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะราย ตัวอย่างการผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อ ได้แก่ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า หลายรุ่นที่มีการใช้อะไหล่เหมือนกัน

 ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะของระบบการผลิตและปริมาณการผลิต

                        - การผลิตแบบโครงการ (Project Manufacturing) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ราคาแพง และมีลักษณะเฉพาะตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะราย เช่น การสร้างเขื่อน การสร้างทางด่วน การต่อเรือดำน้ำ การต่อเครื่องบิน ฯลฯ การผลิตแบบโครงการมักมีปริมาณการผลิตต่อครั้งน้อยมากหรือผลิตครั้งละชิ้นเดียวและใช้เวลานาน การผลิตจะเกิดขึ้นที่สถานที่ตั้งของโครงการ (Site) เมื่อเสร็จงานโครงการหนึ่งจึงย้ายทั้งคนและวัสดุสิ่งของเครื่องมือต่าง ๆ ไปรับงานใหม่ เครื่องมือที่ใช้จึงเป็นแบบอเนกประสงค์ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่าย  และคนงานต้องสามารถทำงานได้หลายอย่างจึงต้องใช้แรงงานมีฝีมือที่ผ่านการอบรมอย่างดี

                        - การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Job Shop หรือ Intermit ten Production) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะหลากหลายตามความต้องการของลูกค้า โดยมีปริมาณการผลิตต่อครั้งเป็นล็อต มีการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตค่อนข้างบ่อย และผลผลิตไม่มีมาตรฐานมากนัก เช่น การบริการคนไข้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ จะถูกรวมกันตามหน้าที่การใช้งานไว้ในสถานีการผลิตแยกเป็นหมวดหมู่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของผังโรงงานในจุดที่จะสามารถทำให้กระบวนการผลิตทุกผลิตภัณฑ์สามารถดำเนินไปตามขั้นตอนการผลิตที่กำหนดไว้อย่างคล่องตัว การเดินเครื่องจักรผลิตจะผลิตสินค้าชนิดหนึ่งจนได้ปริมาณตามที่ต้องการแล้วจึงเปลี่ยนไปผลิตสินค้าชนิดอื่นโดยใช้เครื่องจักชุดเดิม
                        - การผลิตแบบกลุ่ม (Batch Production) เป็นการผลิตที่คล้ายกับการผลิตแบบไม่ต่อเนื่องมาก จนบางครั้งจัดเป็นการผลิตประเภทเดียวกัน แต่จะแตกต่างกนตรงที่การผลิตแบบกลุ่มจะมีลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแยกเป็นกลุ่ม ๆ ในแต่ละกลุ่มจะผลิตตามมาตรฐานเดียวกันทั้งล็อต ในขณะที่การผลิตแบบไม่ต่อเนื่องจะมีลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์หลากหลายมากกว่า ลักษณะการจัดเครื่องจักรอุปกรณ์ของการผลิตแบบกลุ่มจะเหมือนกับการผลิตแบบไม่ต่อเนื่องคือจัดเครื่องจักรตามหน้าที่การใช้งานเป็นสถานีแล้วงานจะไหลผ่านไปแต่ละสถานีตามลำดับขึ้นตอนของงาน และเนื่องจากการผลิตแบบกลุ่มเป็นการผลิตของเป็นล็อต ขั้นตอนการผลิตจึงมีแบบแผนลำดับเหมือนกันเป็นกลุ่มๆ ตามล็อตการผลิตเหล่านั้น การผลิตแบบกลุ่มนี้ใช้ได้กับการผลิตตามคำสั่งซื้อและการผลิตเพื่อรอจำหน่าย เช่น การเย็บเสื้อโหล  เป็นต้น
                        - การผลิตแบบไหลผ่าน หรือการผลิตตามสายการประกอบ หรือการผลิตแบบซ้ำ (Line- Flow หรือ Assembly หรือ Repetitive Production)  เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันในปริมาณมาก เช่น การผลิตแชมพู การผลิตรถยนต์ การผลิตเครื่องซักผ้า การผลิตแบบไหลผ่านจะมีเครื่องจักอุปกรณ์เฉพาะของแต่ละสายผลิตภัณฑ์แยกต่างหาก โดยไม่มีการใช้เครื่องจักรร่วมกันเครื่องจักรอุปกรณ์จะเป็นแบบเฉพาะงานสำหรับแต่ละสายผลิตภัณฑ์เพื่อการผลิตที่รวดเร็ว และได้ปริมาณมาก การผลิตแบบนี้จะเหมาะสมกับการผลิตเพื่อรอจำหน่ายหรือใช้ในการประกอบโมดูลในการผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่อไป
                        - การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Process หรือ Continuous Flow Production) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวในปริมาณที่มากมายอย่างต่อเนื่องโดยใช้เครื่องจักรเฉพาะอย่าง ซึ่งมักจะเป็นการผลิตหรือแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นวัตถุดิบในการผลิตขั้นตอนต่อไป เช่น การกลั่นน้ำมัน การผลิตสารเคมี การทำกระดาษ ฯลฯ
กระบวนการผลิต




1) แบบพาสเจอร์ไรส์เซชั่น (Pasteurization process) เป็นกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยใช้อุณหภูมิไม่เกิน 100 องศา เซลเซียส เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อ ผู้บริโภคและยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ฟอสฟาเทส โดยอุณหภูมิในการฆ่าเชื้อผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 85 องศาเซลเซียส เวลา 15 วินาที จากนั้นลดอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส
2) แบบเทอร์ไมซ์เซชั่น (Thermization process) เป็นกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนเพื่อการฆ่าเชื้อเบื้องต้นโดยใช้ อุณหภูมิ 63-65 องศาเซลเซียส นาน 15 วินาที และเก็บรีกษาไว้ใน แท็งค์ไม่เกิน 12 ชม. ที่อุณหภูมิ 7 องศาเซลเซียส
3) แบบยู.เอช.ที ( Ultra High Temperature: U.H.T. process) เป็นกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนที่อุณหภูมิเกินกว่า 133 องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า 1 วินาที ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สามารถทำลาย เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคได้ทั้งหมดรวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรียที่ทนความร้อนสูง (Thermophilic bacteria) นอกจากนี้ต้องบรรจุ ในภาชนะและสภาวะที่ปราศจากเชื้อและต้องผ่านกรรมวิธีทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน (Homogenization)
แผนภาพกระบวนการผลิตนม

กระบวนการผลิต

  1.  ขั้นตอนการรับน้ำนมดิบ (Raw Milk Reception)
    นมดิบที่เข้าโรงงาน (ปริมาณเฉลี่ย 60 ตัน/วัน) จะถูกเก็บตัวอย่างไปตรวจสอบคุณภาพทางด้านกายภาพ-เคมี และจุลินทรีย์ หลังจาก นั้นน้ำนมดิบที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้จะถูกเข้าไปเก็บไว้ในแท็งค์ โดยผ่านเพลททำความเย็น(cooling plate) เำื่พื่อลดอุณหภูมิ น้ำนมดิบลงเหลือ 4-8 องศาเซลเซียส ก่อนนำเข้าสู่่ขั้นตอนการผลิต
  2. ขั้นตอนการเทอร์ไมเซชั่น (Thermization process) น้ำนมดิบก่อนเข้ากระบวนการผลิตจะถูกนำไปฆ่าเชื้อด้วยความร้อนเบื้องต้น โดย การเพิ่มอุณหภูมิไปที่ 75 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 วินาที แล้วถูกทำให้เย็นลงอีก ครั้งทึ่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส โดยอาศัยหลักการแลกเปลี่ยนความร้อนกับน้ำร้อน และน้ำเย็น ที่เครื่อง Plate Heat Exchanger จากนั้นน้ำนมจะถูกเก็บไว้ในถังพักก่อน เพื่อรอเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป
  3. ขั้นตอนการโฮโมจีไนส์เซชั่น(Homogenization) นมที่ผ่านการเทอร์ไมส์แล้วจะไหลเข้าสู่่เครื่องโฮ โมจีไนส์ เพื่อทำให้ขนาดอนุภาคของไขมันใน นมมีขนาดเล็กลง ไม่เก็บการแยกชั้นกันเมื่อตั้ง ทิ้งไว้โดบใช้ความดันที่ 200 กิโลปาสคาล/ตร.ซม. เพื่อทำให้นมไหลผ่านช่องขนาดเล็ก
  4. ขั้นตอนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน(Heat treatment process)
    4.1) การฆ่าเชื้อแบบพาสเจอร์ไรส์ : นมดิบที่ผ่านการเทอร์ไมส์จะถูกนำผ่านเข้าสู่่ เครื่องพาสเจอร์ไรส์ เพื่อทำการแลกเปลี่ยนความร้อนโดยเพิ่มอุณหภูมิที่ 80องศาเซล เซียส เป็นเวลา 15 วินาที จากนั้นนมที่ผ่านการฆ่าเชื้อจะไหลไปพักไว้ในถังเก็บนมพาสเจอร์ไรส์ซึ่งรักษาอุณหภูมิไว้ที่ 4 องศาเซลเซียส เพื่อรอการบรรจุ
    4.2) การฆ่าเชื้อแบบยูเอชที: นมดิบที่ผ่านการเทอร์ไมสืจถูกนำเข้าสู่ขั้นตอนการฆ่า เชื้อขั้นสุดท้ายด้วยเครื่องUHTแบบTubular Heat Exchanger โดยการแลกเปลี่ยน ความร้อนกับไอน้ำ โดยค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิจาก 4 องศาเซลเซียส เป็น 30 70 และ 95 องศาเซลเซียส ตามลำดับจนน้ำนมมีอุณหภูมิสูงถึง 139 องศาเซลเซียส นาน 3วินาที
  5. ขั้นตอนการบรรจุ (Filling process)
    5.1 การบรรจุนมพาสเจอร์ไรส์ : เริ่มจากการป้อนนมที่ผลิตได้เข้าสู่เครื่องบรรจุอัตโนมัต จากนั้นนำฟิลม์พลาสติกมาผ่านการซีลให้เป็น ถุงโดยใช้ความร้อน จากนั้นจะป้อนนมลงไปในถุงก่อนที่จะฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ปากถุงด้วยรังสี Ulta violet (UV) ก่อนที่จะซีลปิดถุง และทำ การตัดออกเป็นถุง ก่อนที่จะนำผลิตภัณฑ์ไปเก็บรักษาไว้ในห้องเย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป
    5.2 การบรรจุแบบปลอดเชื้อ (Aseptic filling) : การบรรจุนมยูเอชที จะทำการบรรจุที่สภาวะ ปลอดเชื้อ ด้วยเครื่องบรรจุแบบอัตโนมัติ โรงงาน อ.ส.ค. ขอนแก่นมีเครื่องบรรจุ 2 เทคโนโลยี ีด้วยกันคือ SIG combibloc และ Tetra Pak แตกต่างที่กล่องบรรจุเป็นแบบ sleeve และแบบ ฟิมล์ม้วนกล่องนมที่บรรจุจะถูกนำไปฆ่าเชื้อด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และทำการบรรจุภาย ใต้สภาวะปลอดเชื้อ (Aseptic zone) และถูกลำเลียงตามสายพาน เพื่อพิมพ์วันที่ หมดอายุ การจัดลงลัง และขนย้ายเข้าสู่โกดังเพื่อรอตรวจสอบคุณภาพต่อไป
  6.  ขั้นตอนกา่รเก็บรักษา (Storage) ภายหลังจากผ่านขั้นตอนการบรรจุนมแล้ว ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจะต้องถูกนำไปเก็บรักษาเพื่อรอ การจำหน่ายโดบผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์จะถูกนำไปเก็บไว้ในห้องเย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ส่วนผลิตภัณฑ์นมยูเอชที สามารถเก็บรักษาไว้ได้ที่อุณหภูมิปกติภายในโกดังสินค้า
  7. ขั้นตอนการขนส่งผลิตภัณฑ์ (Transportation) ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว จะถูกขนย้ายไปยังคลังสินค้า เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป


การจัดการอุตสาหกรรม

 การบริหารการผลิต
     
                                    1.1 ความหมายของการบริหารการผลิต
                                    1.2 วิวัฒนาการของการบริหารการผลิต
                                    1.3 วัตถุประสงค์ในการบริหารการผลิต
                                    1.4 สาเหตุการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ
                                    1.5 งานบริหารการผลิต

                                    
1.6 ประเภทของการผลิต
                                    
1.7 กลยุทธ์การบริหารการผลิต
                                    
1.8 วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
                                    
1.9 แนวโน้มของการผลิตในปัจจุบัน
แนวคิด 
1. การบริหารการผลิตเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารกระบวนการการแปลงสภาพปัจจัยการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าและบริการตามคุณลักษณะที่ต้องการของผู้บริโภค การผลิตได้เริ่มวิวัฒนาการจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีกลุ่มบุคคลซึ่งมีF.W.Taylor เป็นผู้นำ ได้ร่วมกันเป็นผู้บุกเบิกการบริหารการผลิตในสมัยใหม่จนปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากในการผลิตแบบใหม่ หน้าที่สำคัญของการผลิตจะเกี่ยวกับการเตรียมระบบการผลิต การควบคุมการผลิตและการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เพราะต่างก็สัมพันธ์กันในระบบ
2. ระบบการผลิต เป็นเป้าหมายสำคัญของการบริหารการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงต้องจัดให้การปฏิบัติงานระหว่างขั้นตอนต่างๆสอดคล้องและสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการประกอบการผลิต
3. การบริหารการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารจำเป็นจะต้องเข้าต้องใจลักษณะของกิจการแต่ละชนิด และต้องเข้าใจความแตกต่างของการผลิตแต่ละประเภท รวมตลอดถึงทราบปัญหาที่จะเกิดจากการบริหารการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาวด้วย
 วัตถุประสงค์
            เมื่อได้ศึกษาบทที่ 1 จบแล้ว นักศึกษาจะสามารถ
            1. อธิบายความหมายและความสำคัญของการบริหารการผลิต ตลอดจนวิวัฒนาการและหน้าที่การผลิตได้
            2. อธิบายความหมาย ลักษณะ องค์ประกอบ ความสัมพันธ์และประเภทของระบบการผลิต ตลอดจนความเกี่ยวพันระหว่างระบบการผลิตกับระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในระบบเศรษฐกิจได้
            3. อธิบายหลักเกณฑ์ คุณลักษณะที่สำคัญ และข้อแตกต่างของการผลิตประเภทต่างๆ ตลอดจนปัญหาการผลิตที่ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


อ้างอิง