พิกุล โสกชาตรี

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555


การจัดการอุตสาหกรรม

 การบริหารการผลิต
     
                                    1.1 ความหมายของการบริหารการผลิต
                                    1.2 วิวัฒนาการของการบริหารการผลิต
                                    1.3 วัตถุประสงค์ในการบริหารการผลิต
                                    1.4 สาเหตุการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ
                                    1.5 งานบริหารการผลิต

                                    
1.6 ประเภทของการผลิต
                                    
1.7 กลยุทธ์การบริหารการผลิต
                                    
1.8 วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
                                    
1.9 แนวโน้มของการผลิตในปัจจุบัน
แนวคิด 
1. การบริหารการผลิตเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารกระบวนการการแปลงสภาพปัจจัยการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าและบริการตามคุณลักษณะที่ต้องการของผู้บริโภค การผลิตได้เริ่มวิวัฒนาการจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีกลุ่มบุคคลซึ่งมีF.W.Taylor เป็นผู้นำ ได้ร่วมกันเป็นผู้บุกเบิกการบริหารการผลิตในสมัยใหม่จนปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากในการผลิตแบบใหม่ หน้าที่สำคัญของการผลิตจะเกี่ยวกับการเตรียมระบบการผลิต การควบคุมการผลิตและการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เพราะต่างก็สัมพันธ์กันในระบบ
2. ระบบการผลิต เป็นเป้าหมายสำคัญของการบริหารการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงต้องจัดให้การปฏิบัติงานระหว่างขั้นตอนต่างๆสอดคล้องและสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการประกอบการผลิต
3. การบริหารการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารจำเป็นจะต้องเข้าต้องใจลักษณะของกิจการแต่ละชนิด และต้องเข้าใจความแตกต่างของการผลิตแต่ละประเภท รวมตลอดถึงทราบปัญหาที่จะเกิดจากการบริหารการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาวด้วย
 วัตถุประสงค์
            เมื่อได้ศึกษาบทที่ 1 จบแล้ว นักศึกษาจะสามารถ
            1. อธิบายความหมายและความสำคัญของการบริหารการผลิต ตลอดจนวิวัฒนาการและหน้าที่การผลิตได้
            2. อธิบายความหมาย ลักษณะ องค์ประกอบ ความสัมพันธ์และประเภทของระบบการผลิต ตลอดจนความเกี่ยวพันระหว่างระบบการผลิตกับระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในระบบเศรษฐกิจได้
            3. อธิบายหลักเกณฑ์ คุณลักษณะที่สำคัญ และข้อแตกต่างของการผลิตประเภทต่างๆ ตลอดจนปัญหาการผลิตที่ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


อ้างอิง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น