พิกุล โสกชาตรี

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

การตัดสินใจเชิงปริมาณในการวางแผนกำลังการผลิต

การตัดสินใจเชิงปริมาณในการวางแผนกำลังการผลิต

          การวางแผนกำลังการผลิตจะต้องอาศัยวิธีการคำนวณเชิงปริมาณเพื่อให้ได้มาซึ่งต้นทุนที่แท้จริงที่จะต้องจ่าย หรือรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อหากำไรจากการตัดสินใจดำเนินการ การวางแผนกำลังการผลิตมีทั้งการวางแผนกำลังการผลิตในระยะสั้นซึ่งมีจะมุ่งหมายในการจัดสรรกำลังการผลิตที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดไม่ว่าในด้านการช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลงมากที่สุดหรือ ด้านการทำกำไรสูงสุดให้แก่กิจการ และการวางแผนกำลังการผลิตในระยะยาวซึ่งจะเป็นการลงทุนขยายกำลังการผลิตภายใต้สถานการณ์ที่มีทางเลือกหลายทาง วิธีการที่ใช้ในการวางแผนกำลังการผลิต มีดังต่อไปนี้
          1. วิธีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เป็นวิธีการง่าย ๆ ที่ใช้ในการวางแผนกำลังการผลิตได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว วิธีนี้จะใช้เมื่อทราบราคาขาย ต้นทุนแปรได้ ต้นทุนคงที่ในระดับกำลังการผลิตต่าง ๆ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนสามารถนำมาใช้เพื่อการวางแผนกำลังการผลิตได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (พิชิต สุขเจริญพงษ์, 2537: 28)
                
          2. วิธีโปรแกรมเชิงเส้น วิธีโปรแกรมเชิงเส้น (linear programming) ใช้ในการตัดสินใจจัดสรรกำลังการผลิตที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกำหนดตัวแปรที่ต้องการตัดสินใจ ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
                  2.1 ตั้งสมการแสดงข้อจำกัดเขียนกราฟสมการข้อจำกัดแต่ละสมการ โดยให้ตัวแปรตัวหนึ่ง (x) = 0 แล้วแทนค่าในสมการข้อจำกัด เพื่อหาจุดตัดแกน y และใช้วิธีเดียวกันนี้หาจุดตัดแกน x เพื่อลากเส้นกราฟให้แสดงพื้นที่ของจ้อจำกัดแต่ละสมการ แล้วหาพื้นที่ของข้อจำกัดร่วมกันทุกสมการ
                  2.2 ตั้งสมการเป้าหมายสูงสุดและเขียนกราฟโดยสมมติให้ค่าสูงสุดเท่ากับจำนวนเลขจำนวนหนึ่ง    (มักใช้ค่าหารร่วมมากของสัมประสิทธิ์ของ x กับ y เป็นค่าสูงสุด
                  2.3 ลากเส้นขนานของสมการเป้าหมายสูงสุดไปตัดพื้นที่ของข้อจำกัด ที่ห่างจุด origin (0,0) มากที่สุด
                  2.4 หาค่าจุดตัดในข้อ 2.3 ซึ่งจะเป็นหารจัดสรรกำลังการผลิตที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดทั้งแกน x และ y
          3. วิธีแขนงการตัดสินใจ วิธีแขนงการตัดสินใจ (decision tree analysis)ใช้ในการตัดสินใจเลือกทางเลือกเพื่อผลลัพธ์ในระยะยาว ซึ่งต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับผลได้และต้นทุนของแต่ละทางเลือก รวมทั้งความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
                 3.1 กำหนดทางเลือกเพื่อตัดสินใจ
                 3.2 กำหนดหนทางของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นพร้อมทั้งโอกาสหรือความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ
                 3.3 กำหนดค่าทางได้เป็นตัวเงินของหนทางเหล่านั้น
                 3.4 คำนวณค่าคาดหมายของทางเลือกแต่ละทาง
                 3.5 เลือกทางเลือกที่ให้ค่าคาดหมายสูงสุด

ที่มา http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson%205/lesson%205%20-%207.html
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=3288.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น