พิกุล โสกชาตรี

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์ทางเลือก

การวิเคราะห์ทางเลือก

          1. ทางเลือกที่จะขยายคลังสินค้าครั้งเดียว 100,000 ตารางฟุต มีผลดีคือ เสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าการขยายคลังสินค้า 2 ครั้ง แต่เงินทุนจะจมอยู่กับการสร้างคลังสินค้าเป็นจำนวนมาก และอาจจะเกิดกำลังการผลิตที่เกินความต้องการถ้าอุปสงค์มีน้อย
          2. ทางเลือกที่จะขยายคลังสินค้า 2 ครั้ง มีผลดีคือ ลดความเสี่ยงในการลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก แต่ก็อาจเสียโอกาสที่จะทำรายได้เพิ่มขึ้นถ้าอุปสงค์มีมาก
          3. ทางเลือกที่จะคงพื้นที่คลังสินค้าเท่าเดิม มีผลดีคือ ไม่ต้องเสี่ยงในการลงทุนด้วยเงินทุนจำนวนมาก แต่จะเสียโอกาสเป็นอย่างมาก ถ้าอุปสงค์มีมาก
การจำลองแขนงการตัดสินใจจากข้อมูลที่มีอยู่ พร้อมทั้งโอกาสหรือความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ ดังในภาพการจำลองแขนงการตัดสินใจ
          1. การคำนวณค่าผลได้เป็นตัวเงินของแต่ละแขนง โดยที่ผลได้รวมเป็นบวก แสดงว่าแขนงนั้นมีกำไร แต่ถ้าผลได้รวมเป็นลบแสดงว่าแขนงนั้นขาดทุน
          การคำนวณมูลค่าคาดหวังของแต่ละทางเลือก ซึ่งแต่ละทางเลือกมี 2 โอกาสคือ อุปสงค์สูงหรืออุปสงค์ต่ำ โดยนำเอาค่าความน่าจะเป็นมาคำนวณด้วยในทุกทางเลือกนั้น
          2. การคำนวณเพื่อเลือกทางเลือกที่มีกำไรสูงสุด
สรุป                  
          กำลังการผลิต คือ
  อัตราสูงสุดที่ระบบการผลิตสามารถผลิตได้เต็มที่ในช่วงเวลาหนึ่งของดำเนินงาน การวัดกำลังการผลิต สามารถกระทำได้ 2 ทาง คือ การวัดกำลังการผลิตจากผลผลิต การวัดกำลังการผลิตจากปัจจัยการผลิต   
          การวางแผนและจัดการด้านกำลังการผลิต ซึ่งเป็นการวางแผนและดำเนินการเกี่ยวกับขนาดของโรงงานหรือสถานที่ทำการผลิต จำนวนเครื่องจักรอุปกรณ์ ตลอดจำนวนคนงานที่เหมาะสม จึงเป็นภาระงานสำคัญของการบริหารการผลิต โดยต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ต่อองค์การในระยะสั้นควบคู่กับระยะยาว
          การกำหนดระดับของกำลังการผลิต มีอยู่ 3 ระดับ คือ กำลังการผลิตในระดับอุปสงค์สูงสุด กำลังการผลิตในระดับอุปสงค์เฉลี่ย กำลังการผลิตในระดับอุปสงค์ต่ำสุด      
          การเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิต ทำได้โดย การผลิตสินค้าเก็บไว้เผื่อช่วงขายดี การรับคำสั่งซื้อของลูกค้าไว้ก่อนแล้วผลิตส่งให้ภายหลัง การเพิ่มหรือลดจำนวนคนงาน การจ้างงานล่วงหน้า การปรับปรุงกระบวนการผลิต การฝึกอบรมพนักงานให้ทำงานต่างหน้าที่  การหยุดการบำรุงรักษาชั่วคราว การทำสัญญาช่วงกับ Subcontract วิธีการทั้งหมดนี้อาจจะเหมาะสมกับบางสถานการณ์เท่านั้น จึงควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย หรือใช้ผสมกันมากกว่าหนึ่งวิธี เพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตที่ใกล้เคียงกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น
- กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. 2542. การบริหารอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : งานตำราและเอกสารการพิมพ์.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- ชุมพล  ศฤงคารศิริ. 2542. การวางแผนและควบคุมการผลิต. กรุงเทพฯ  : ส.เอเชียเพรส (1989).
- เปรื่อง  กิจรัตน์ภร.  2537. การบริการงานอุตสาหกรรม ระบบ และกระบวนการผลิต. กรุงเทพฯ  : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  สถาบันราชภัฏพระนคร.
- ยุทธ  ไกยวรรณ์. 2543. การบริหารการผลิต. กรุงเทพฯ  :  ศูนย์สื่อเสริม.   
- วิชัย  แหวนเพชร. 2536. การวางแผนและควบคุมการผลิต. กรุงเทพฯ  : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรมศาสตร์  สถาบันราชภัฏพระนคร. 
- วินิจ  วีระยางกูร. 2533. การจัดการผลิต. กรุงเทพฯ  : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค.
- สุปัญญา  ไชยชาญ. 2540. การบริหารการผลิต. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ  : พี.เอ.ลีฟวิ่ง.                    
- เสรี  สมนาแซง.  2529. การวางแผนและควบคุมการผลิต. กรุงเทพฯ  :  ขอนแก่น  ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น.


ที่มา http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson%205/lesson%205%20-%209.html
        http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=3288.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น