พิกุล โสกชาตรี

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วิธีสร้างแผนภูมิการไหลของกระบวนการผลิต

วิธีสร้างแผนภูมิการไหลของกระบวนการผลิต
          ก่อนลงมือสร้างแผนภูมิทุกชนิด จะต้องเริ่มต้นโดยการเขียนรายละเอียดประจำแผนภูมิก่อนเสมอ ซึ่งจะประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
                    - ซึ่งแผนภูมิ : แผนภูมิการไหลของกระบวนการผลิต
                    - คำอธิบายของแต่ละกิจกรรม (process description)
                    - สถานที่ (plant building of department)
                    - ชื่อผู้สร้างแผนภูมิ 
                    - หมายเลขแผนภูมิ
                    - วันที่บันทึก
          ในการสร้างแผนภูมิการไหลของกระบวนการผลิต ผู้สร้างจะต้องบันทึกกิจกรรมที่จะดำเนินการลงไปในแบบฟอร์มอย่างละเอียด และตามกิจกรรมก่อน-หลัง ตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้นกิจกรรม เพื่อให้เข้าใจโปรดศึกษากิจกรรมตรวจรับคุณภาพ และการจัดเก็บมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ขนาด 1 แรงม้า บรรจุในหีบรังไม้ (ธีรวุฒิ บุณยโสภณ และวีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์, 2537 หน้า 48-51)
ประโยชน์ของการวางผังโรงงาน (benefit of plant layout)
          ประโยชน์ของการวางผังโรงงาน ก็คือ การเพิ่มผลผลิตของโรงงานและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต (ธีรวุฒิ บุณยโสภณ และวีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์, 2532 หน้า 31) ได้เสนอแนะว่ายอกจากจะเป็นการเพิ่มผลผลิตแล้ว ยังเกี่ยวกับการจัดเตรียมหรือจัดวางเครื่องจักรกล วัตถุดิบและอุปกรณ์ช่วยในการผลิตต่าง ๆ ในโรงงาน เพื่อให้ผลตอบแทนสูงสุด โดยจะต้องสอดคล้องกับความต้องการและความพอใจของคนงานด้วย นอกจากประโยชน์ที่ได้จากการวางผังโรงงานดังกล่าวแล้ว
การวางผังโรงงานเอื้อประโยชน์ต่อระบบการผลิต ดังนี้
          1. ทำให้เกิดความสมดุลย์ในกระบวนการผลิต เพราะจะช่วยแบ่งปริมาณงานให้แต่ละหน่วยผลิตได้เท่าเทียมกัน วัสดุจึงไหลไปในกระบวนการผลิตอย่างสม่ำเสมอไม่เกิดการหยุดรอในกระบวนการผลิต
          2. ช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานโดยจัดให้แสงสว่างเพียงพอ ทางเดินกว้าง พอสมควร มีระบบความปลอดภัยในการทำงาน
          3. ใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ การวางผังโรงงานจะช่วยทำให้คนงานทำงานในหน่วยผลิตอย่างประสิทธิภาพ ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินไปมาในการทำงานในหน่วยผลิต
          4. ช่วยให้ใช้พื้นที่ในโรงงานให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ พื้นที่ ในโรงงานมีจำกัดจะต้องจัดวางระบบให้ใช้พื้นที่ในระบบการผลิตในโรงงานให้มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าที่สุด
          5. ช่วยให้มองเห็นการปรับเปลี่ยนพื้นที่ในอนาคต การวางผังโรงงานจะต้องกะประมาณ และคาดการณ์ล่วงหน้าในการเตรียมพื้นสำหรับการปรับเปลี่ยน หรือการติดเครื่องจักร เครื่องกลหรืออุปกรณ์ที่ช่วยในการผลิต
          6. ลดเวลาในการขนย้ายให้สั้นสุดในการผลิตสินค้าต่าง ๆ การไหลของวัตถุดิบตั้งแต่เริ่มแรกกรผลิตเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งสำเร็จออกมาเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ การขนย้ายวัตถุดิบระหว่างผลิตจะลงทุนมาก ดังนั้นจะต้องจัดวางผังโรงงานให้การขนย้ายวัตถุดิบแต่ละหน่วยผลิต หรือภายในหน่วยผลิตให้สั้นสุด
          7. ทำให้คนงานมีสุขจิตที่ดี การวางผังโรงงานที่ถูกแบบ จะช่วยทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น คนงานมีความรู้สึกพอใจในการทำงานของตน เช่น ห้องน้ำ ห้องสมุด ห้องพักผ่อน ความสะอาด ความเป็นระเบียบตลอดทั้งสิ่งแวดล้อมภายนอกโรงงาน จะต้องจัดให้เหมาะสม
          8. ช่วยลดสิ่งรบกวนต่าง ๆ จากกระบวนการผลิต กระบวนการผลิตในหน่วยผลิตบางครั้งจะทำให้เกิดฝุ่น ควัน เศษโลหะ เสียง หรืออื่น ๆ หากวางผังเอาไว้ดีแล้วจะสามารถขจัดปัญหาดังกล่าวได้
ระบบของการวางผังโรงงาน
          การวางผังโรงงานที่จะดีต้องสอดคล้องกับระบบการผลิต ซึ่งการวางผังโรงงานนั้นมีด้วยกัน 4 ระบบ คือ
          1. การวางผังโรงงานแบบตามกระบวนการผลิต (process layout) สำหรับงานที่ผลิตสินค้าแต่ละแบบต้องใช้ชิ้นส่วนต่าง ๆ มากมาย การวางผังแบบตามกระบวนการผลิต จะเป็นการรวมเอาเครื่องจักรที่มีลักษณะการใช้งานเหมือนกันเข้าไว้ในพื้นที่ส่วนเดียวกันของโรงงาน การวางผังการผลิตแบบนี้เหมาะกับการผลิตที่ทราบจำนวนแน่นอน หรืองานเป็นหน่วย ๆ ที่ทราบปริมาณการผลิตที่แน่นอน (อรนุช จรูญโรจน์, 2530 หน้า 55) และการผลิตสินค้าแต่ละชนิดมีกรรมวิธีการผลิตที่คล้ายคลึงกัน
ข้อดีของผังโรงงานแบบตามกระบวนการผลิต
          1. จำนวนเงินลงทุนในการซื้อเครื่องจักรเครื่องมือต่ำ
          2. เครื่องจักรมีชั่วโมงใช้งานสูง โดยเฉพาะในกรณีที่การผลิตสินค้าแต่ละชนิดมีจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากโรงงานสามารถจัดตารางการผลิตให้กับเครื่องจักรแต่ละเครื่องได้
          3. ถ้าเครื่องจักรใดเครื่องจักรหนึ่งไม่ทำงานก็ยังดำเนินการผลิตต่อไปได้ หรืออาจจะใช้เครื่องจักรทดแทนการทำงานกันได้
          4. ถ้ามีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่อาจจะต้องซื้อหรือปรับปรุงเครื่องจักรใหม่เพียงเครื่องหนึ่งสองเครื่องเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
          5. ในการขยายกิจการ ค่าใช้จ่ายในการขยายโรงงานจะถูกกว่าเนื่องจากอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มสายการผลิตใหม่ทั้งสาย
ข้อจำกัดของผังโรงงานแบบตามกระบวนการผลิต
          1. การขนถ่ายวัสดุจะยุ่งยากมากกว่า เพราะจัดเป็นแผนก ๆ งานและอาจจะมีปัญหาในเส้นทางการขนย้าย จากแผนกหนึ่งไปยังแผนกหนึ่งจะเสียเวลามากและลงทุนสูง
          2. การสั่งการและการประสานงานไม่ค่อยสัมพันธ์ ตลอดทั้งความคล่องของคนงาน และประสิทธิภาพของเครื่องจักรแต่ละแผนกแตกต่างกันทำให้เกิดผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จคั่งค้าง ณ จุดปฏิบัติมาก ซึ่งบางจุดปฏิบัติงานอาจจะขาด
          3. ใช้พื้นที่โรงงานมากกว่า
          4. จะต้องใช้เวลาในการอบรมฝึกหัดพนักงานใหม่ทุกครั้ง ที่มีการเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือได้เครื่องจักรเข้ามาใหม่
          2. การวางผังโรงงานตามชนิดของผลิตภัณฑ์ (product layout) เป็นการจัดผลิตให้เรียงตามลำดับขั้นตอนการผลิตของผลิตภัณฑ์ การจัดผังโรงงานแบบนี้ บางทีเรียกว่าเป็นการจัดแบบเป็นแถว (line layout) (เดชา ทิพยมาศ, 2536 หน้า 123) โรงงานแบบนี้จะเป็นการผลิตสินค้าชนิดเดียว หรือสินค้าหลายชนิดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน การดำเนินการผลิตมักจะเป็นการผลิตแบบต่อเนื่อง เช่น การผลิตอาหารกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง เบียร์ การผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทแก้ว ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ จะทำให้การจัดเครื่องจักรเครื่องมือทำได้อย่างไม่ยุ่งยาก ผู้วางผังโรงงานสามารถกำหนดขั้นตอนการผลิต เพื่อให้การผลิตดำเนินการไปได้โดยที่ไม่มีการขนย้ายสินค้าย้อนทางเดิน (ฉลวย ธีระเผ่าพงษ์ และอุทัยวรรณ สุวคันธกุล, 2532 หน้า 58)
          ในการวางผังโรงงาน แบบตามชนิดของผลิตภัณฑ์ วิธีการ คือ เราจัดเรียงเครื่องจักรให้เรียงกันไปตามขั้นตอนการผลิต โดยเริ่มจากวัตถุดิบไปถึงกระบวนการผลิตแต่ละหน่วยการผลิต จนสำเร็จเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จ 
ข้อดีของการวางผังโรงงานแบบตามชนิดผลิตภัณฑ์
          1. การควบคุมการจัดตารางผลิตทำได้ง่ายเนื่องจากเรารู้ขั้นตอนการผลิตที่แน่นอน
          2. การขนย้ายวัสดุทำได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เนื่องจากระยะระหว่างจุดปฏิบัติการต่าง ๆ นั้น และไม่มีการขนย้ายวัตถุดิบย้อนทางเดิน
          3. พื้นที่โรงงานใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่า
          4. ในการผลิตเป็นจำนวนมาก ๆ อัตราการใช้เครื่องจักรจะดีขึ้นและเครื่องจักรได้ทำงานอย่างเต็มที่
          5. ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จที่คั่งค้าง ณ จุดปฏิบัติงานต่าง ๆ จะมีน้อยลง 
          6. เวลาที่เสียไปในการติดตั้งเครื่องจักรจะลดลง
          7. ไม่จำเป็นต้องอบรม หรือให้ความรู้พนักงานบ่อย ๆ
          8. ต้นทุนการผลิตต่อชิ้นจะถูกลง
          9. การไหลของชิ้นงานผลิตจะเร็วขึ้น
          10. การควบคุมงานผลิตจัดได้เป็นระบบมากกว่า
ข้อจำกัดของการจัดผังโรงงานตามชนิดผลิตภัณฑ์          1. จำนวนเงินทุนในการซื้อเครื่องมือเครื่องจักรสูง
          2. การหยุดการผลิตของเครื่องจักรในหน่วยผลิต หน่วยใดหน่วยหนึ่ง กระบวนการผลิตจะหยุดทั้งระบบการผลิต
          3. ยอดผลิตจะสูงและสม่ำเสมอ เพราะเครื่องจักร ผลิตชิ้นงานตลอดเวลาหากยอดขายลดลง จะส่งผลต่อระบบเงินทุนหมุนเวียนเป็นอย่างมาก
          4. เป็นเรื่องลำบากมาก หากจะแยกเครื่องจักรในระบบผลิตที่เป็นปัญหาออกจากกระบวนการผลิต
          5. การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนเครื่องมือเครื่องจักร ซึ่งการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแต่ละครั้ง ก็จะปรับเปลี่ยนทั้งสายการผลิต
          อย่างไรก็ตาม การวางผังโรงงานทั้งสองแบบคือ การวางผังการผลิตตามกระบวนการผลิต (process layout) และการวางผังการผลิตแบบตามชนิดผลิตภัณฑ์ (product layout) ต่างก็มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่าง 
          3. การวางผังโรงงานแบบผสม (mixed layout) ในปัจจุบันโรงงานส่วนใหญ่จะใช้ระบบการวางผังโรงงานแบบผสม กล่าวคือ ในแผนกซ่อมบำรุง (maintenance engineer) แผนกงานหล่อ งานเชื่อมทำแบบหล่อ (mole maintenance) จะวางผังเป็นแบบตามกระบวนการผลิต (process layout) ส่วนแผนกผลิตชิ้นงานหรือหล่อชิ้นงานจะใช้วิธีการวางผังโรงงานแบบตามชนิดของผลิตภัณฑ์ (product layout) ส่วนแผนกผลิตชิ้นงานหรือหล่อชิ้นงานจะใช้วิธีการวางผังโรงงานแบบตามชนิดของผลิตภัณฑ์ (product layout)
          4. การวางผังโรงงานแบบชิ้นงานอยู่กับที่ (fixed position layout) การวางผังโรงงานอีกแบบหนึ่ง คือ การวางผังโรงงานแบบชิ้นงานอยู่กับที่ (fixed position layout) ซึ่งเป็นที่ใช้กันไม่ค่อยมากนัก ส่วนมากจะเป็นการวางผังเพื่อผลิตชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น การต่อเรือ (ship construction) เครื่องบิน (aircraft) เป็นต้น จะเป็นการลำบากมาก หากจะเคลื่อนย้ายชิ้นงานเข้าสู่กระบวนการผลิต วิธีการที่จะทำให้การผลิตมีความสะดวกมากขึ้น ก็โดยการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ ตลอดทั้งแรงงานเข้าหาชิ้นงานที่จะทำการผลิต (Norman Gaither, 1994 p. 304)

http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson%207/lesson%207%20-%208.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น