พิกุล โสกชาตรี

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สรุปการวางผังโรงงาน

สรุปการวางผังโรงงาน
          การวางผังโรงงาน หมายถึง งานหรือแผนการในการติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัตถุต่าง ๆ ที่จำเป็นในกระบวนการผลิต ภายใต้ข้อจำกัดของโครงสร้าง และการออกแบบของอาคารที่มีอยู่ เพื่อทำให้การผลิตมีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด
ปัจจัยในการพิจารณาในการวางแผนผังโรงงาน มีข้อพิจารณา ดังนี้
          1. ความต้องการของผลิตภัณฑ์ การวางแผนผังควรมีความยืดหยุ่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงการใช้เครื่องจักร 
          2. การเสี่ยงต่อความล้าสมัยของเครื่องจักร จากความต้องการผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ
          3. คุณภาพของผลผลิต การวางแผนผังไม่ถูกต้อง อาจมีผลให้คุณภาพของสินค้าลดลง
          4. ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ควรคำนึงถึงการผลิตที่ต่อเนื่องกันเพื่อลดต้นทุนในการบำรุงรักษา
ขั้นตอนการวางผังโรงงานมีด้วยกัน 3 ขั้นตอน
          1. การวางผังโรงงานขั้นต้น การวางผังโรงงานแบบนี้เป็นการกำหนดขอบเขตเอาไว้กว้าง ๆ ว่าจะกำหนดให้พื้นที่นี้ทำอะไร พื้นที่ตรงนี้ต้องอยู่ใกล้กับหน่วยงานใด เป็นต้น
          2. การวางผังโรงงานอย่างละเอียด ก็เป็นการกำหนดราละเอียดในแต่ละแผนกว่าในแผนกนี้จะติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือตรงไหน มุมไหน ทางเดินภายในแผนก จะกำหนดอย่างไร สรุปแล้วการวางผังโรงงานอย่างละเอียด ก็คือการมองไปในรายละเอียดของแต่ละแผนกนั่นเอง
          3. การติดตั้งเครื่องจักร ขั้นนี้เป็นขั้นนำการวางผังโงงานอย่างละเอียดมาสู่การปฏิบัติ ก็คือ การติดตั้งเครื่องจักรตามที่วางผังไว้แล้วให้สามารถปฏิบัติงานได้
          ในการวางผังโรงงานนั้น ผู้วางผังควรมีการวางให้รัดกุมมากพอสมควร จึงจะทำให้การวางผังโรงงานเกิดผลดี และได้ใช้ประโยชน์จากโรงงานอย่างคุ้มค่า เช่น
                - วางผังโรงงานขั้นต้นก่อน แล้วจึงวางผังอย่างละเอียด
                - ควรออกแบบผังโรงงานไว้เลือกหลายแบบ
                - ผู้วางผังโรงงานต้องรู้ว่า ผู้บริหารจะเลือกวิธีการขนย้ายวัสดุภายนอก ภายในโรงงานแบบใด
                - ควรมีการติดต่อขอความคิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ระบบการวางผังโรงงาน
          ระบบการวางผังโรงงานที่ดี จะต้องสอดคล้องกับระบบการผลิต ซึ่งการวางผังโรงงานมีด้วยกัน 4 ระบบ คือ
          1. การวางผังโรงงานแบบตามกระบวนการผลิต
          2. การวางผังโรงงานแบบตามชนิดของผลิตภัณฑ์
          3. การวางผังโรงงานแบบผสม
          4. การวางผังโรงงานแบบชิ้นงานอยู่กับที่
          การวางผังโรงงานแต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่าง ทั้งนี้ ผู้บริหารจะเลือกระบบการวางผังโรงงานแบบใด ก็ต้องขึ้นอยู่กับระบบการผลิตในโรงงานเป็นหลักในการพิจารณา
- ฉลวย ธีระเผ่าพงษ์ และอุทัยวรรณ สุวคันธกุล, 2532. การวางแผนโรงงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพื้นฐานอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันราชภัฏพระนคร.
- ชัยนันท์ ศรีสุภินนท์. การออกแบบผังโรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2 มหาสารคาม : ช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม.
- ณรงค์ นันทวรรณะ และคณะ. 2536. การบริหารงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : หจก.สำนักพิมพ์  ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
- ณัฏฐพันธ์  เขจรนันทน์, 2542. การจัดการผลิตและการดำเนินงาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- เดชา ทิพยมาศ. 2536. การบำรุงรักษาโรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2 มหาสารคาม : ช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม.
- ธีรวุฒิ บุญยโสภณ และวีรพงษ์ เฉลิมจิระวัฒน์. 2522. พื้นฐานการบริหารงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า  พระนครเหนือ.
- พิชิต สุขเจริญพงษ์. 2533. การจัดการวิศวกรรมการผลิต. กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด. 
- ยุทธ กัยวรรณ์. 2543. การบริหารการผลิต. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริม กรุงเทพฯ. 
- สุรศักดิ์ นานานุกุล. 2517. การบริหารงานผลิต. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
- อรนุช จรูญโรจน์ และศิวาพร บัณฑุวานนท์. 2530. การบริหารการผลิต. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการบริหารทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
- Harold  T.Amrine  and  others.  1957.  Manufacturing  organization  and  Management.  Six  edition  New  Jersey  : Prentice – Hall  Englewood  Cisffs.

http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson%207/lesson%207%20-%209.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น